หน้าแรก Article ธุรกิจแบ่งปัน เทรนด์ยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ธุรกิจแบ่งปัน เทรนด์ยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

0
ธุรกิจแบ่งปัน เทรนด์ยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
Sharing

2 ล้านล้านเหรียญ US Dollars คือมูลค่ารวมของธุรกิจแบ่งปันทั่วโลก และธุรกิจแบ่งปันกำลังมียอดเติบโตเฉลี่ยปีละ 7% เนื่องจากการเข้าใจ และยอมรับของคนทั่วโลก อันเป็นไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งเชื่อมทุกคนถึงกันอย่างไร้ศูนย์กลางการสื่อสารอีกต่อไป ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสไตล์การท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องการค้นหาสถานที่แปลกใหม่ รวมไปถึงการพักในบรรยากาศที่ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตของคนพื้นที่มากที่สุด

โครงสร้างธุรกิจแบบ Sharing Economy เป็นการทำธุรกิจในรูปแบบ Next Generation ซึ่งช่วยให้บุคคลหรือองค์กรสามารถสร้างรายได้จากสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนมีมากเกินความจำเป็น (Excess Capacity) โดยให้บริการบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพื่อเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการในการเข้าถึงสินค้าหรือบริการ โดยผู้รับบริการจะใช้ข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นพื้นฐานที่ช่วยในการตัดสินใจ ตั้งแต่รถยนต์ ห้องพัก ไปจนถึงเสื้อผ้า ของมือสอง และกระเป๋าแบรนด์เนม ฯลฯ

บริษัท PwC Consulting เปิดเผยถึงผลสำรวจ The Sharing Economy โดยได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา จำนวน 1,000 รายว่า ปัจจุบันกระแสเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy)

คาดการณ์ว่าในปี 2568 กลุ่มอุตสาหกรรมที่นำแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปันมาปรับใช้กับธุรกิจคือ กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Travel) ธุรกิจให้บริการโดยสารทางรถยนต์ รถเช่า และแบ่งปันรถยนต์กันใช้ (Car Sharing) ธุรกิจการเงิน (Finance) ธุรกิจจัดหาบุคคลเข้าทำงาน (Staffing) และธุรกิจบริการเพลงหรือวิดีโอแบบสตรีมมิ่ง (Music and Video Streaming) จะช่วยผลักดันให้มูลค่าของตลาด Sharing Economy ในสหรัฐฯเติบโตถึง 11 ล้านล้านบาท (3.35 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากปัจจุบันประมาณ 5 แสนล้านบาท

ตัวอย่างของธุรกิจยอดฮิตแบบ Sharing Economy ที่กำลังเป็นกระแสในสังคมออนไลน์ทั่วโลก ได้แก่ บริษัท Airbnb ตลาดชุมชนที่ผู้เข้าพักสามารถจองที่พักจากเจ้าของที่พัก โดยเน้นการนำเสนอประสบการณ์ของผู้เข้าพักและเจ้าของที่พัก และเชื่อมโยงคนที่มีที่พักว่างกับคนที่กำลังมองหาที่พักเข้าหากัน ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโดยเฉลี่ยกว่า 425,000 รายต่อคืน และมีเครือข่ายการให้บริการใน 190 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นหนึ่งในบริษัท Startup ที่เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วที่สุดบริษัทหนึ่งในตลาดนี้

เราเห็นได้ชัดว่าการทำธุรกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิง เราไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมาย แต่เพียงแค่เอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาทำให้เกิดตัวเงิน โดยการใช้แอปพลิเคชัน

สำหรับประเทศไทย การเลือกตั้งที่ผ่านมา มีหลายพรรคการเมืองชูนโยบายธุรกิจแบ่งปัน แต่มีเพียงหนึ่งพรรคที่ปรากฏความมุ่งมั่นตั้งใจ คือ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมี พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ อดีตรองประธาน กสทช. เป็นโฆษกพรรค

ทั้งนี้ ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวไว้ว่า

“ถึงเวลาแล้วที่เราต้องมาคิดเรื่องนี้กันอย่างจริงจังว่าจะให้คนไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากธุรกิจแบ่งปันตรงนี้ได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนสามารถนำทรัพย์สินที่มีมาใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ กระจายเม็ดเงินลงสู่ประชาชนโดยตรงให้ได้มากที่สุด ภาครัฐต้องมองไปที่การแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้คนที่มีเทคโนโลยีถึงมือของทุกๆ คนแล้ว และรัฐต้องรวบรวมดูว่ากฎหมายไหนคืออุปสรรคของคนไทย ที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันโลก ขณะเดียวกันต้องให้คนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดิมสามารถอยู่รอดปรับตัวมาใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแบ่งปันได้ด้วย”

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มของเศรษฐกิจแบ่งปัน ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนาเท่านั้น แต่ก็ส่งผลทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างมาก ทำให้การใช้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเองเกินความจำเป็น แต่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนนำทรัพย์สินบ้านรถยนต์ของพวกเขามาทำมาหากิน และในที่สุดก็จะทำให้เศรษฐกิจฐานรากขยายตัวมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจนี้จะเกิดขึ้นโดยตรงสู่ประชาชน จนสามารถลดความเหลี่ยมล้ำได้เร็วขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชนทำมาหากินคล่องตัวขึ้นและมีรายได้สูงขึ้น

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ได้ชี้ประเด็นปัญหาว่า “ความท้าทายของระบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ก็คือกฎระเบียบของรัฐที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกบัญญัติในแบบดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ท้าทายอย่างมาก โดยผลเสียที่เกิดจากการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่รัดกุมมากเกินไปและไม่มีความยืดหยุ่น จะเป็นการขัดขวางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน จนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการค้าขายรูปแบบใหม่ และยังเป็นการยับยั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่อีกด้วย”

ดังนั้น รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลจึงควรมีการออกแบบแนวทางใหม่ๆ ให้ยืดหยุ่นมากขึ้นในด้านกฎระเบียบและการกำกับดูแล ที่จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบ่งปันได้ โดยหน่วยงานกำกับดูแลควรกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนสร้างอาชีพบนเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่บนมือทุกคนอยู่แล้วโดยการลงทุนที่ต่ำมาก และเปิดให้มีการควบคุมตนเอง (Self-regulation) มากกว่าที่จะมีการควบคุมจากรัฐมากเกินไป ด้วยการหลีกเลี่ยงกรอบการกำกับดูแลเฉพาะอุตสาหกรรม และควรลดกฎระเบียบที่ทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันได้ยาก โดยมีการจ้างงานอิสระ ซึ่งต้องลดข้อจำกัดที่มากเกินไปของกฎหมายการจ้างงานเพื่อการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนฐานรากอย่างทั่วถึง”

พรรคภูมิใจไทย ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลชุดหน้า ต้องดูว่าพรรค จะขับเคลื่อนนโยบายเรื่องเศราฐกิจแบ่งปันได้แค่ไหน

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่