หน้าแรก news อ.จุฬาฯ ค้าน “ไพบูลย์” เสนอใช้ ม.270 ให้สองสภาร่วมพิจารณางบแผ่นดิน หากรัฐบาล “ลุงตู่” เสียงปริ่มน้ำ ชี้ “ขัดหลักการ-สร้างความเสียหาย”

อ.จุฬาฯ ค้าน “ไพบูลย์” เสนอใช้ ม.270 ให้สองสภาร่วมพิจารณางบแผ่นดิน หากรัฐบาล “ลุงตู่” เสียงปริ่มน้ำ ชี้ “ขัดหลักการ-สร้างความเสียหาย”

0
อ.จุฬาฯ ค้าน “ไพบูลย์” เสนอใช้ ม.270 ให้สองสภาร่วมพิจารณางบแผ่นดิน หากรัฐบาล “ลุงตู่” เสียงปริ่มน้ำ ชี้ “ขัดหลักการ-สร้างความเสียหาย”
Sharing

จากกรณีที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป เสนอพิจารณากฎหมายงบประมาณแผ่นดิน ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 หากรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส ไม่มากพอ โดยล่าสุด นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Pornson Liengboonlertchai ระบุว่า ข้อเสนอที่ให้ใช้ ม.270 ของรัฐธรรมนูญมาเป็นทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาการออกกฎหมายต่างๆ ทั้งนี้เพราะเรื่องเสียงปริ่มน้ำของรัฐบาลในอนาคต หากพิจารณาตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่พึงเสนอให้กระทำและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง 

 

1.ม.270 อยู่ในบทเฉพาะกาลที่ให้อำนาจแก่วุฒิสภาเป็นการ “เฉพาะเรื่อง” กล่าวคือ วุฒิสภามีอำนาจร่วมพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวพันกับการปฏิรูปประเทศเท่านั้น ไม่ใช่การตราตัวบทกฎหมายทั่วๆ ไป

 

2.การอาศัย ม.270 เป็นฐานอำนาจในการออกกฎหมายคือการตีความให้กฎหมายทุกฉบับเป็นเรื่องการปฏิรูปประเทศทั้งหมด การตีความเช่นนี้ก่อให้เกิดผลอันแปลกประหลาด ขัดแย้งต่อ “เหตุผลของเรื่อง” (Nature of things) ที่ใช้กำกับในการตีความรัฐธรรมนูญด้วย กล่าวคือ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ม.270 เอง กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น หากตีความเช่นนี้ ต่อไปการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติจะมาใช้และอ้างอิง ม.270 เพียงมาตราเดียวเท่านั้นอันถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดยิ่ง

 

3.การตีความเช่นนี้ส่งผลเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของฝ่ายนิติบัญญัติอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งตามหลักวิชาอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตีความอันมีลักษณะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยพฤตินัย (De Facto Constitutional Amendment) เพราะเป็นการขยายอำนาจให้แก่วุฒิสภาในการตรากฎหมายอย่างชัดแจ้ง ส่งผลกระทบต่อการใช้และความสัมพันธ์ในทางอำนาจระหว่างองค์กรทางรัฐธรรมนูญด้วยกันอีกด้วย อันอาจส่งผลกระทบและความเสียหายต่างๆ ตามมาอีกมากมายเราพึงต้องตระหนักด้วยว่าปัญหาหนึ่งของวิกฤติระบอบรัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมาคือ การ (พยายาม) ตีความ หรือบังคับใช้ที่ไม่สอดคล้องตามเจตจำนงของรัฐธรรมนูญที่แท้จริง (Constitutional fidelity) ดังนั้น จึงพึงหลีกเลี่ยง ไม่เช่นนั้นก็จะกลับไปสู่วังวนเดิมอีก 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่