หน้าแรก news ส.ส.ภูมิใจไทย อภิปรายสภาฯ จี้แก้ปัญหา น้ำแล้ง-ถนนชำรุด ให้ประชาชน

ส.ส.ภูมิใจไทย อภิปรายสภาฯ จี้แก้ปัญหา น้ำแล้ง-ถนนชำรุด ให้ประชาชน

0
ส.ส.ภูมิใจไทย อภิปรายสภาฯ จี้แก้ปัญหา น้ำแล้ง-ถนนชำรุด ให้ประชาชน
Sharing

(10 ก.ค.62) ที่รัฐสภาชั่วคราว บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ ส.ส. พรรคภูมิใจไทย (ภท.) อภิปรายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชน เริ่มจาก นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการได้รับร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง เรื่อง ขอให้มีไฟจราจร บริเวณ สี่แยกวัดไชโย ถนนหมายเลข 309 กับถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 4002

บริเวณดังกล่าวมีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน อยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการติดไฟจราจร เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุของพี่น้องประชาชน

ต่อมา นายภราดร กล่าวว่า อยากฝากไปถึงทางหลวงแผ่นดิน บริเวณทางหลวงหมายเลข 3064 ถนน อ.โพธิ์ทอง ไปถึง อ.แสวงหา ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีการสัญจรใช้รถใช้ถนน 2 ช่องทางจราจร ปริมาณมากพอสมควร ทำให้ถนนบริเวณนั้นเกิดการชำรุดและทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ในแต่ละปีมีการปรับปรุงปีละ 400-500 เมตร  อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบและแก้ไขปัญหาพื้นที่บริเวณนั้นให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน อย่างเร่งด่วน

สุดท้าย อยากฝากหารือไปถึงกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น บริเวณแยกถนนหมายเลข 3064 ที่จะเข้าไปวัดสนธิธรรม ต.หนองแม่ไก่ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ระยะทางบริเวณนั้นประมาณ 1 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่พี่น้องประชาชนม เพราะเส้นทางดังกล่าวเกิดการชำรุดทรุดโทรมและเป็นหลุม เป็นบ่อ ทำให้การสัญจรไปมาเป็นไปด้วยความยากลำบาก อยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามารับผิดชอบให้กับพี่น้องประชาชนด้วย

นายโสภณ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายประเด็นปัญหาภัยแล้งที่สร้างความยากลำบากเรื่องน้ำกินน้ำใช้แก่พี่น้องประชาชน ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเฉพาะ อ.ชำนิ เนื่องจากบริเวณนี้ประสบภัยแล้งอย่างมาก บางหมู่บ้าน ไม่มีฝนตกแม้แต่น้อย จนทำให้ชาวบ้านประสบปัญหาเรื่องภัยแล้งตั้งแต่ปีที่แล้วอย่างสาหัส อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับผิดชอบในปัญหาดังกล่าว เรื่อง ปัญหาพันธุ์ข้าว น้ำบริโภคที่ใช้กิน ดื่มของพี่น้องประชาชนพอมี แต่น้ำอุปโภคขาดแคลน โดยเฉพาะน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้อยากให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวเข้าไปรับผิดชอบและรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน โดยให้หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นจัดงบฉุกเฉิน เพื่อบริการน้ำดื่มน้ำใช้ให้กับพี่น้องประชาชน ถ้าเป็นไปได้อยากให้หน่วยงานของภาครัฐทำฝนหลวงในบริเวณพื้นที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์แก่การอุปโภคบริโภคของพี่น้องประชาชน

ด้าน นายณัฎฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ กล่าวถึงประเด็นหารือว่า ช่วงสัปดาห์ที่แล้วจนมาถึงสัปดาห์นี้ ราคายางพาราตกต่ำและลดลงทุกวัน ปัจจุบันราคา กิโลกรัมละ 44 บาท อยากเรียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีในอดีตที่ผ่านมาและรัฐบาลในอนาคต รมต.กระทรวงพาณิชย์ รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตนได้ลงพื้นที่ไปรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชนชาวสวนยาง พี่น้องชาวสวนยางบอกว่าราคายางแบบนี้อยู่ไม่ได้แล้ว

ต่อมา นายณัฏฐ์ชนน เสนอว่า อยากให้ผู้บริหารในอนาคตพึงฟังปัญหาคำถาม 6 ข้อนี้ เพื่อได้นำไปแก้ปัญหาเรื่องราคายางพารา

1.ท่านนายกรัฐมนตรี รู้จักบริษัท 5 เสือการยางหรือไม่?

2.ท่านนายกรัฐมนตรีรับรู้หรือไม่ว่าชาวสวนยางเดือดร้อนสาหัสไม่สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ในขณะนี้?

3.ท่านนายกรัฐมนตรีพอใจหรือไม่ ในการทำหน้าที่ของ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รมต.กระทรวงพาณิชย์ ที่กำกับดูแลยางพารา?

4.ท่านนายกรัฐมนตรีมีแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางพาราทั้งระบบในระยะยาวหรือไม่?

5.ท่านนายกรัฐมนตรีคิดว่าราคายางพาราที่เป็นธรรมสมกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันกิโลกรัมละเท่าไร?

6.ท่านนายกรัฐมนตรีรักเมตตาและสงสาร เข้าใจปัญหาของชาวสวนยางบ้างหรือไม่?

“สิ่งที่ได้ตั้งคำถามเหล่านี้ถึงผู้บริหารประเทศที่ดูแลเรื่อง ยางพารา ถ้าตระหนักถึง 6 ประเด็นที่ได้ตั้งคำถาม ก็สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับราคายางพาราได้” นายณัฏฐ์ชนน กล่าว


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่