ส่งมอบนโยบายให้รัฐบาลกันไปเรียบร้อย และไม่ต้องลุ้นว่านโยบายกัญชาเสรีของพรรคภูมิใจไทย เป็นไม่กี่นโยบายที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจาก “บิ๊กตู่” และพรรคร่วม
ส่วนสำคัญมาจากการปรับโฉมนโยบายนี้ จาก “ปล่อยผีกัญชา” เป็นกัญชาเสรี “เพื่อการแพทย์” ที่มิได้ดับฝันสายบันเทิง เพราะนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า ไม่ทิ้งกัญชาเพื่อนันทนาการ แต่ขอปลดล็อกเรื่องการแพทย์ ช่วยผู้ป่วยก่อน
ทั้งนี้ หากย้อนศึกษาการทำนโยบายกัญชาจากรัฐบาลทั่วโลก อิงข้อมูลจาก Third way : Amarica ‘s Marihuana Evolution จะพบว่า การเปิดรับกัญชาของภาคประชาชนต้องเริ่มจากนำกัญชามาใช้รักษาผู้ป่วยก่อนจะขยับไปสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจ และนันทนาการตามลำดับ
ในสหรัฐฯ กัญชาอยู่ในบัญชียาเสพติดตั้งแต่ปี 1970 และที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ในปี 1996 – 1997 หลังจากศึกษาพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการชักเกร็งจากพาร์กินสิน และบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้จริง
ส่งผลให้กัญชา เป็นพืชที่ถูกนำมาวิจัยมากที่สุด กระทั่งเกิดการยอมรับ ไปจนถึงที่แคลิฟอร์เนียอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ ในปี 2018
ทั้งนี้ความท้าทายของการเริ่มใช้กัญชา แม้จะเป็นในทางการแพทย์ก็ตาม คือ ผลกระทบของการใช้กัญชาอย่างผิดวิธีของประชาชน นำมาซึ่งอาการเจ็บป่วยต่างๆนาๆ ซึ่งมักถูกฝ่ายต่อต้านนำมาขยายผล
แต่ในสหรัฐฯ จำนวนกลุ่มต่อต้านน้อยกว่าฝ่ายสนับมาก โดยอเมริกันชน 201 ล้านคน ในรัฐที่กัญชาเป็นเรื่องถูกกฎหมายทางการแพทย์ ยอมรับในคุณประโยชน์ของกัญชา เทียบสัดส่วนคือประชาชนถึง 60% ของประเทศ รู้สึกยินดีที่ได้้กัญชามาบรรเทาอาการเจ็บไข้
ดังนั้น ผลกระทบจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ จึงไม่ใช่เหตุผลที่ต้องเก็บนโยบายกัญชาเข้าลิ้นชัก กลับกัน ภาครัฐต้องผลิตกัญชาในฐานะของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ออกมาให้มากที่สุด ในราคาที่เข้าถึงได้ พร้อมกับแนะนำวิธีใช้อย่างถูกต้อง เพื่อลดปริมาณ “ของใต้ดิน” แทนที่ด้วยของถูกกฎหมาย และวิธีใช้ที่ถูกต้อง
Change over time in numbers of Americans living in medical and recreational states
ภาพประกอบ : Third way : Amarica ‘s Marihuana Evolution
กลับมาที่ประเทศไทย เริ่มมีเสียงวิพากษ์จากฝ่ายการเมือง ที่นำคำว่ากัญชาเสรีมาใช้อย่างมีนัยยะทางกานเมือง และเรียกร้องให้ทำนโยบายกัญชาเสรีแบบสุดขั้ว แทนการจำกัดขอบเขตเหลือเพียงการรักษาผู้ป่วย
ทั้งนี้ แนวทางการทำนโยบายสาธารณะที่สุดโต่ง ล้วนนำมาซึ่งความวิบัติ โดยเฉพาะนโยบายกัญชา ที่หากเริ่มพร้อมกันทั้งเรื่องการแพทย์ เศรษฐกิจ และนันทนาการ ย่อมต้องถูกโจมตีจากฝ่ายค้าน ในเรื่องของปัญหาสังคม ผลประโยชน์ทับซ้อน และอื่นๆ อีกมาก ดังนั้น การทำนโยบายแบบ Step By step จึงเป็นการสมควรที่สุด และสอดคล้องกับนานาประเทศ
รศ.สุขุม นวลสกุล นักวิชาการด้ายรัฐศาสตร์ อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง เปรียบการทำนโยบายของพรรคภูมิใจไทยว่า
“นโยบายบางอันมันมีสเต็ป อย่างกัญชาต้องมีโรดแมป เริ่มจากขั้นที่ 1 ก่อน เหมือนสร้างบ้าน 2 ชั้น จะให้ชั้นข้างบนลอยมาไม่ได้ ที่สำคัญคือ ต้องให้ประชาชนได้เห็นความคืบหน้าในแต่ละขั้นตอน”
ขณะที่ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระบุว่า
“ล่าสุด นโยบายกัญชาเสรีของพรรคภูมิใจไทยเขาให้ความสำคัญกับเรื่องการแพทย์ เพราะการทำนโยบายสาธารณะ มันต้องค่อยเป็นค่อยไป เรียกว่า incremantal model เพื่อให้สังคมรับรู้และยอมรับนโยบายก่อน”
การ “รัน” นโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของการเดินหน้าเรื่องกัญชา เพราะมีคำอธิบายในเรื่องของ “ศิลธรรม” ที่ต้องเร่งช่วยผู้ป่วย ซึ่งไร้เสียงค้าน เมื่อผ่านพ้นเรื่องนี้ไปได้ ภาพจำของกัญชาจะเปลี่ยนไป เสียงวิพากษ์กัญชาในฐานะของยาเสพติดจะเบาลง นโยบายกัญชาเสรี Step ที่ 2 ถึงจะเดินหน้าได้
ข้อมุล และภาพอ้างอิง : https://www.thirdway.org/report/americas-marijuana-evolution?fbclid=IwAR1XOvClG8dpfcLMDG7f2E2y0SZ2aa1tXBYlaeZnOrs_ovthtcenXbZnLHI