หน้าแรก Article กัญชา กัญชง จาก “พืชเสพติด” สู่เส้นทาง “พืชเศรษฐกิจ”  ! ลึกแต่ไม่ลับ เจาะลึกเบื้องหลังประกาศ สธ. ปลดล็อก CBD, THC

กัญชา กัญชง จาก “พืชเสพติด” สู่เส้นทาง “พืชเศรษฐกิจ”  ! ลึกแต่ไม่ลับ เจาะลึกเบื้องหลังประกาศ สธ. ปลดล็อก CBD, THC

0
กัญชา กัญชง จาก “พืชเสพติด” สู่เส้นทาง “พืชเศรษฐกิจ”  ! ลึกแต่ไม่ลับ เจาะลึกเบื้องหลังประกาศ สธ. ปลดล็อก CBD, THC
Sharing

เป็นเรื่องจนได้กับประกาศของกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการให้สารสำคัญ ในกัญชงและกัญชา “ถูกกฎหมาย” ตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีการวิเคราะห์ไปต่างๆนาๆ ว่า ล็อกสเป็กบ้าง เอื้อกลุ่มนายทุนบ้าง

แหล่งข่าวในกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า หลายคนคิดมากเกินไป ประกาศฉบับนี้ ไม่ได้ต้องการ “ล็อกสเป็ก” ให้ใครได้ประโยชน์ แต่ เป็นการ “วางรากฐาน” ให้กัญชา และกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจระดับชาติ ไม่ได้มองแค่สร้างรายได้ให้ครัวเรือน แต่ต้องสร้างรายได้ให้ประเทศ

ส่วนประชาชนจะใช้ประโยชน์จากประกาศฉบับนี้ อย่างไร ภาครัฐพร้อมหาทางออกร่วมกับภาคประชาชน อาจจะเป็นการออกคำสั่งเพิ่มเติม ล้วนทำได้หมด

ย้อนกลับไปมองประกาศสาธารณสุขที่กำลังเป็นประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 มีสาระสำคัญคือ กำหนดเพิ่มเงื่อนไขสำหรับยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ลำดับที่ 1 คือ กัญชา และลำดับที่ 5 คือ กัญชง

โดยมี “การยกเว้น” ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษของกัญชาและกัญชง คือ

1.แคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) ที่สกัดจากกัญชาและกัญชงซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 99 โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.01 โดยน้ำหนัก

2.สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบหลักและมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น

3.เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งของกัญชาและกันชง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนประกอบเหล่านี้

4.เมล็ดจากกัญชง หรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชง ซึ่งเป็นอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารและต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางอาหารเท่านั้น

5.น้ำมันจากเมล็ดกัญชงหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ซึ่งเป็นเครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอางต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางเครื่องสำอางเท่านั้น   ซึ่งเมล็ดกัญชงที่นำไปประกอบอาหารหรือเครื่องสำอางต้องเป็นเมล็ดที่ไม่สามารถนำไปเพาะพันธุ์ได้

ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 5 ปี แรกนับตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (วันที่ 27 สิงหาคม 2562) การยกเว้นให้ใช้บังคับเฉพาะการผลิตในประเทศของผู้รับอนุญาตตามกฎหมาย

เมื่อตั้งใจศึกษาคำสั่งฉบับนี้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประเด็นแรก ประกาศดังกล่าวให้ความสำคัญกับสาร THC และ CBD ที่อยู่ในกัญชงและกัญชา

ซึ่งคาดกันว่าในอนาคตชื่อสารสำคัญข้างต้น จะถูกเรียกแทนคำว่ากัญชา และกัญชง อาทิ ในสหรัฐฯ ที่เรียกน้ำมันกัญชาว่า CBD oil เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม CBD และ THC แม้จะมีสรรพคุณทางยา ลดความวิตกกังวล บรรเทาปวด แต่การจะใช้ให้มีประโยชน์สูงสุด

ส่วนผสมของสารข้างต้นต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม นำมาซึ่งการกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวคือ ต้องมีสาร CBD 99% และมี THC เจือปนเพียง 0.01%  หรือ 0.2% เท่านััน ซึ่งระบุไว้ในประกาศ

การทำสารสกัด CBD ซึ่งมี THC ผสมเพียง 0.01% เป็นเรื่องยากมาก จึงถูกยกให้เป็นมาตรฐานในห้องทดลอง

แต่การสกัดสาร CBD โดยหลงเหลือ THC 0.2% คือ ศักยภาพที่คนไทยสามารถทำได้

ตัวเลข THC 0.2% ข้างต้น อ้างอิงมากจากค่า THC ต่ำสุดซึ่งทั่วโลกยอมรับ มีต้นแบบมาจากหลายประเทศในยุโรป

และน่าจะเป็นค่ามาตรฐานที่ un จะรองรับในอนาคตอันใกล้ คาดกันว่าจะมีการประกาศรับรองช่วงต้นปี 2563

หากผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร ที่มีส่วนผสมของ CBD และสามารถควบคุมปริมาณสาร THC ตามที่กำหนด ย่อมสามารถส่งไปขายทั่วโลก

นี่คือ “หลักการ” ซึ่งแหล่งข่าวย้ำว่าเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมในวันที่ un รับรองให้สาร CBD, THC ถูกกฎหมายสากล ประเทศไทยจะเดินหน้าได้ทันที

นอกจากนั้น ประกาศดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับเส้นใยกัญชาและกัญชง ซึ่งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และกระดาษ ทั้งยังเปิดช่องให้นำ “เมล็ดกัญชง” ไปใช้ผลิตอาหาร

ซึ่งเมล็ดกัญชงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีทั้งโปรตีน วิตามินอี และโอเมก้าสูงมาก โดยนำไปทำเป็นอาหาร เช่น เส้นพาสต้า คุกกี้ ขนมปัง เบียร์ ไวน์ ซอส น้ำมันพืช เนยเทียม ชีส นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารเสริม เต้าหู้ โปรตีนเกษตร หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี

ขณะเดียวกันยังให้น้ำมันกัญชง เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant ที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ ทั้งนี้ยังสามารถลดภาวะการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย

ทั้งนี้ น้ำมันกัญชง เป็น “น้ำมันพืช” สกัดจาก “เมล็ดกัญชง” น้ำมันดังกล่าว จัดอยู่คนละประเภทกับ “น้ำมันกัญชา” ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีสาร CBD, THC เป็นส่วนประกอบ

ทั้งการกำหนดคุณสมบัติของสารสกัด THC, CBD ให้เป็นมาตรฐานสากล, การนำเส้นใยจากกัญชงและกัญชา มาใช้ประโยชน์, การให้นำเมล็ดกัญชง มาประกอบอาหาร,และนำน้ำมันกัญชงสำหรับผสมในเครื่องสำอาง

ประกาศฉบับนี้ กำลังพากัญชา และกัญชงสู่การเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เปิดช่องให้ใช้ประโยชน์จากสารสำคัญ และส่วนต่างๆ อย่างไม่เคยมีมาก่อน

“เมื่อนำประกาศฉบับนี้ มาเทียบเคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งวันนี้ กฎหมายเปิดช่องให้ประชาชนปลูกได้ ในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันการแพทย์ เพื่อใช้ทางการแพทย์เป็นหลัก

แต่หลังจากมีประกาศฉบับนี้ การปลูกกัญชา และกัญชง จะไม่ใช่เพียงเรื่องการแพทย์เท่านั้น จากเนื้อหาคือสารสกัด THC และ CBD แม้จะยังใช้ในการทำยา และสมุนไพร แต่สิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์กับประชาชนแน่นอน คือ การนำเส้นใยมาทำสิ่งทอ สร้างรายได้ การนำเมล็ดกัญชง ใช้ผสมในอาหาร การใช้น้ำมันกัญชง ผสมในเครื่องสำอาง ในฐานะของผู้บริโภค เราจะมีสินค้าจากกัญชงและกัญชาให้เลือกใช้ ในฐานะของเกษตรกร เราจะมีตลาดรองรับกัญชาและกัญชง”

ส่วนประชาชนจะปรับใช้ประกาศข้างต้นอย่างไร เพื่อสร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไรได้บ้าง เป็นเรื่องที่ต้องหารือ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ไม่เคยปิดช่องทางรับฟังเสียงประชาชน

โดยล่าสุด 2 กันยายน มีการพูดคุยในประเด็นดังกล่าวระหว่างฝ่ายข้าราชการและภาคประชาชน

วงหารือมีนักข่าวเป็นสักขีพยาน

มีผู้ร่วมแสดงความเห็นประกอบไปด้วย นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, นพ.เกียรติภูมิ วงศ์วรจิตร อธิบดีกรมสุขภาพจิต

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการ และเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต, ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการพูดคุย คือการตกร่วมกัน หาทางนำกัญชา และกัญชง มาสร้างคุณประโยชน์แก่คนไทยอย่างทั่วถึงเท่าเทียม

จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงไม่แปลกใจ ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า

คำสั่งฉบับนี้ ไม่ใช่ “การวางยา”

เพราะแท้ที่จริงแล้วน่าจะเป็น “การวางรากฐาน” ให้กัญชาและกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย ในอนาคต

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่