หน้าแรก news “อุตตม” ชวน “ชิมช้อปใช้” Cash back 15% ใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด เผย 19 วันแรก ช้อปผ่านร้านค้าขนาดเล็กกว่า 82%

“อุตตม” ชวน “ชิมช้อปใช้” Cash back 15% ใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด เผย 19 วันแรก ช้อปผ่านร้านค้าขนาดเล็กกว่า 82%

0
“อุตตม” ชวน “ชิมช้อปใช้” Cash back 15% ใช้จ่ายได้ทุกจังหวัด เผย 19 วันแรก ช้อปผ่านร้านค้าขนาดเล็กกว่า 82%
Sharing

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.อุตตม สาวนายน” ระบุว่า ผมขอแจ้งความคืบหน้าของ มาตรการ ชิมช้อปใช้ให้ทุกท่านได้รับทราบกันครับ วานนี้ (16 ต.ค.62) จำนวนผู้ใช้สิทธิ์ ชิมช้อปใช้ในช่วง 19 วันแรก มีผู้ยืนยันตัวตนสำเร็จแล้ว 9,260,223 ราย ผ่านทั้งช่องทางแอพพลิเคชั่นและที่สาขา โดยมีผู้ใช้สิทธิ์ 1,000 บาทในจังหวัดที่ลงทะเบียนแล้ว 8,519,390 ราย มีการใช้จ่ายรวม 8,282 ล้านบาท

ผมต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ที่ช่วยกันใช้จ่ายผ่านร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ ถึงร้อยละ 82 หรือ 6,793 ล้านบาท และมีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาในสัดส่วนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงเริ่มต้นมาอยู่ที่ร้อยละ 18 หรือ 1,489 ล้านบาท ซึ่งมีการใช้มาตรการนี้กระจายครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวเฉพาะในเมืองใหญ่ โดยการใช้จ่ายในกรุงเทพฯ คิดเป็นเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น

ในส่วนของสิทธิ์ 1,000 บาท เมื่อหมดแล้วสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า 2 g-Wallet ได้อีกนะครับ เพื่อรับเป็นสิทธิ์ Cash back 15% ในร้านค้าที่ร่วมโครงการชิมช้อปใช้และร้านค้าทั่วไปในทุกจังหวัด ยกเว้นเพียงจังหวัดตามทะเบียนบ้านของตน โดยจะได้รับเงินคืนร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายจริง แต่รวมแล้วไม่เกิน 4,500 บาท (ยอดใช้จ่ายสูงสุด 30,000 บาท)


โดยขั้นตอนการเติมเงินเข้า g-Wallet ช่อง 2 สามารถเติมเงินผ่านการสแกน QR Code ได้ทุกธนาคาร หรือกรอกตัวเลข g-Wallet 15 หลักผ่าน mobile banking ของธนาคารต่างๆ ได้ เช่น หากใช้ของธนาคารกรุงไทยและธนาคารทหารไทยให้เลือกเมนูโอนเงินพร้อมเพย์ (Transfer) หากใช้ของธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารออมสินให้เลือกเมนูเติมเงินพร้อมเพย์ (Top up) เป็นต้น โดยเงินคืน Cash back 15% นั้นจะได้รับเข้าแอพพลิเคชั่น เป๋าตังภายในเดือนธันวาคม 2562

มาตรการ ชิมช้อปใช้เป็นมาตรการระยะสั้น ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานราก ทำให้เกิดการคึกคักในการจับจ่ายใช้สอย ผ่านภาคการท่องเที่ยวเพื่อให้เม็ดเงินได้กระจายไปสู่พี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นผู้ผลิตอย่างผู้ประกอบการท้องถิ่น เกษตรกร และชุมชน เพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวในขณะนี้


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่