หน้าแรก news รัฐมนตรีช่วยฯ มนัญญา ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือ และลงพื้นที่ให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

รัฐมนตรีช่วยฯ มนัญญา ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือ และลงพื้นที่ให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

0
รัฐมนตรีช่วยฯ มนัญญา ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมเตรียมมาตรการช่วยเหลือ และลงพื้นที่ให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
Sharing

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ณ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ ว่า จากการรายงานสถานการณ์การระบาดศัตรูข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา พบการระบาดของโรคไหม้คอรวงข้าวใน 7 จังหวัด ได้แก่ ลําพูน แพร่ จันทบุรี มุกดาหาร มหาสารคาม สุรินทร์ และสงขลา รวม 7,442 ไร่ และพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลใน 6 จังหวัด ได้แก่ ลําปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร อ่างทอง และสุพรรณบุรี รวม 18,141 ไร่ นอกจากนี้ กรมการข้าวยังได้รับรายงานการระบาดของโรคไหม้ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จํานวน 77,777 ไร่ และการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่จังหวัดลําปางด้วยเช่นกัน กระทรวงเกษตรแชะสหกรณ์ โดยกรมการข้าวจึงมีการแจ้งเตือนภัยการระบาดของศัตรูข้าวทั้ง 2 ชนิด ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก

สำหรับในปีการผลิต 2562/63 จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ปลูกข้าว 3.025 ล้านไร่ รายงานพบการระบาดโรคไหม้คอรวงข้าวครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ซึ่งในช่วงเวลาเพียง 10 วัน (ช่วงวันที่ 18 – 28 ตุลาคม 2562) มีการระบาดอย่างรวดเร็วครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 17 อำเภอ 140 ตำบล 1,331 หมู่บ้าน เกษตรกรผู้ประสบภัย 49,204 ราย รวมพื้นที่การระบาดทั้งสิ้น 283,454.75 ไร่ มีสาเหตุสำคัญเกิดจาก 1. เกษตรกรมีการใช้เมล็ดพันธุ์ในการหว่านข้าวในอัตราที่สูงเกินไป (30 – 50 กิโลกรัม/ไร่) 2. ข้าวหอมมะลิ (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15) เป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อโรคไหม้คอรวงข้าว 3. มีการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูง โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ส่งผลให้พืชอ่อนแอต่อการเกิดโรค และ 4. สภาพอากาศเหมาะสมต่อการเกิดโรคไหม้ข้าว

อย่างไรก็ตาม สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์และสำนักงานเกษตรอำเภอได้เฝ้าระวัง แบ่งเป็น ก่อนเกิดการระบาด โดยมีศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเป็นศูนย์เฝ้าระวังการระบาดศัตรูพืชในพื้นที่และรายงานข้อมูลให้หน่วยงานราชการ พร้อมประชาสัมพันธ์เตือนการระบาด และระหว่างเกิดการระบาด ได้สร้างการรับรู้การจัดการโรคไหม้คอรวงข้าวให้กับเกษตรกร 17 อำเภอ 26,124 ราย ลงพื้นที่สำรวจแปลง สนับสนุนเชื้อราไตรโครเดอร์มาเบื้องต้น เพื่อควบคุมโรค 10,341 กิโลกรัม สามารถฉีดพ่นได้ 31,023 ไร่ ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย (โรคไหม้คอรวงข้าว) เพื่อเตรียมการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2562 ต่อไป


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่