หน้าแรก news นักวิชาการ ซัด จริตการเมือง “กลุ่มไม่อยากเลือกตั้ง” เชื่อ นิยมความเหลื่อมล้ำ หาประโยชน์จากความไม่เท่าเทียม

นักวิชาการ ซัด จริตการเมือง “กลุ่มไม่อยากเลือกตั้ง” เชื่อ นิยมความเหลื่อมล้ำ หาประโยชน์จากความไม่เท่าเทียม

0
นักวิชาการ ซัด จริตการเมือง “กลุ่มไม่อยากเลือกตั้ง” เชื่อ นิยมความเหลื่อมล้ำ หาประโยชน์จากความไม่เท่าเทียม
Sharing

ผศ.ดร.ผศ.ดร.เชาวฤทธิ์ เชาวน์แสงรัตน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมืองในอเมริกาใต้ กล่าวกับรายการRingsideการเมือง เปรียบเทียบรัฐบาลทหารไทย กับรัฐบาลทหารในลาตินอเมริกา ว่า มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของที่มา นับย้อนไปในปี ค.ศ.1973 ประเทศชิลี ในการนำของประธานาธิปดี “อาเยนเดร์” ต้องการสร้างความเท่าเทียมในสังคม ปรากฏว่าชนชั้นนำในชิลี รวมไปถึงกลุ่มทหารไม่ชอบ จึงร่วมมือกับสหรัฐฯ ซึ่งหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ ล้มรัฐบาล “อาเยนเดร์” แล้วตั้ง “นายพลปิโนเช่” ขึ้นมาปกครองประเทศ จากนั้นชิลีก็อยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหารไปอีก 15 ปี

“สำหรับประเทศไทย คุณจะเห็นว่ารัฐบาลประชาธิปไตย พยายามที่จะสร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม ด้วยโครงการที่ถูกเรียกว่าประชานิยม แต่อีกฝ่ายเขาไม่ชอบความไม่เท่าเทียม เขาไม่ต้องการให้มีใครมาแข่งกับเขา เขาก็ล้มคุณ คนกลุ่มนี้ ต่อมาผันตัวไปเป็นกลุ่มปฏิเสธการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้ง มันเป็นการคืนสิทธิ์ทางการเมืองให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม เมื่อเขาไม่ชอบ เขาก็ไม่เลือก เพราะเขากลัวว่าตัวแทนคนข้างล่าง จะขึ้นมาขัดผลประโยชน์เขา เท่านี้เอง

แต่น่าแปลกมาก ที่เขาหลายคน ไปสนับสนุนกลุ่มร่มเหลืองในฮ่องกง ทั้งที่กลุ่มนั้นเรียกร้องการเลือกตั้งที่เป็นธรรม คำตอบของพฤติกรรมที่ปรากฏคือ เขาทั้งหลายต้องการได้ส่วนแบ่งจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนบ้าง มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์”

ผศ.ดร.ผศ.ดร.เชาวฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ในลาตินอเมริกา รัฐบาลทหารหลายประเทศ เมื่อรู้ว่าประชาชนไม่เอาแล้ว เขาก็ปรับตัว รับฟังเสียงของประชาชน แล้วก็ถอยไปอย่างสง่างาม แต่หลายคนอยากจะอยู่ต่อ สุดท้ายกลายเป็นนักโทษ เพราะในช่วงที่เขามีอำนาจ และอยากอยู่ นายพลหลายท่านเลือกที่จะทรมานฝ่ายเห็นต่าง อุ้มหายฝ่ายเห็นต่าง เป็นต้น

เมื่อย้อนกลับมามองรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผศ.ดร.ผศ.ดร.เชาวฤทธิ์ มองว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของรัฐบาลทหาร ข้อดีคือบ้านเมืองสงบ แต่ข้อเสียคือรัฐบาลต้องแบกรับทุกปัญหาไว้เอง ล่าสุด สังคมยอมให้ทหารเข้ามาปกครองประเทศ เพราะไม่อยากเห็นปัญหาคอรัปชั่น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือปัญหาคอรัปชั่นยังคงอยู่ ต่อมาสังคมคาดหวังว่า นโยบายประชานิยมจะถูกปฏิเสธ เพราะมันถูกสร้างภาพว่าไปกระทบกับเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ  แต่ความจริงคือ ประชาชนได้โครงการประชานิยมที่ชื่อประชารัฐบ้าง ไทยนิยมบ้าง เข้ามาแทนที่ เหล่านี้ เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องหาคำอธิบายให้กับสังคม  มิเช่นนั้น ความชอบธรรมของรัฐบาลจะหมดไป

เมื่อถามว่ารัฐบาลทหารของไทยจะอยู่ได้จนถึงเมื่อไร อ.ประจำคณะศิลปศาสตร์ กล่าวว่า ในลาตินอเมริกา ขนาดมีเหตุการณ์รัฐบาลทหารทำร้ายประชาชนอยู่บ่อยครั้ง ยังอยู่ได้เป็น 10 ปี รัฐบาลทหารไทยมีความฉลาดกว่านั้นมาก ก็น่าจะอยู่ได้นานกว่า

(คลิปรายการอยู่ด้านบน)


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่