หน้าแรก Article กม.ลูกผ่านฉลุยครบ 4 ฉบับ แต่การเลือกตั้งยังต้องลุ้นหนัก

กม.ลูกผ่านฉลุยครบ 4 ฉบับ แต่การเลือกตั้งยังต้องลุ้นหนัก

0
กม.ลูกผ่านฉลุยครบ 4 ฉบับ แต่การเลือกตั้งยังต้องลุ้นหนัก
Sharing

ไม่มีมวยล้มต้มคนดู กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส..และ ที่มาของ ส.ว. ที่ สนช.โหวตผ่านฉลุย สวนทางกระแสข่าวก่อนหน้า ที่หลายฝ่ายฟันธง อาจมีช็อตสำคัญ “คว่ำเพื่อไปต่อ” ยืดอายุ คสช. แต่สุดท้ายฝันร้าย ก็ไม่เกิดขึ้น เรียกรอยยิ้มเล็กๆให้ฝ่ายการเมือง

แว่วมาว่า เพราะ สนช. และ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญเคลียร์กันลงตัว โดยเฉพาะเรื่องที่มาของ ส.. ที่ฝ่ายร่างรัฐธรรมนูญ ต้องการให้ คสช. มีส่วนในการเลือก ส.. อย่างจำกัด แต่ สนช. คิดกลับกัน ต้องการให้ คสช. มีอำนาจเลือก ส..มากที่สุด เพื่อคุมเกมอำนาจในอนาคต ที่ คสช. ต้องหาทางส่งคนไปเป็นหมากสำคัญในกระดานการเมือง

จึงหัก กรธ. ปรับเปลี่ยนรายละเอียดด้านในของกฎหมายฉบับนี้ ก่อนจะมาพบกันครึ่งทาง เมื่อ กรธ. และ สนช. ตั้งทีมพิจารณาร่วมกัน ใช้เวลาพูดคุยกว่า 2 อาทิตย์

และกำหนดใน “บทเฉพาะกาล” ให้นำวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว.ที่ สนช.ได้เสนอทั้งเรื่องการให้ ส.ว.มาจากกลุ่มวิชาชีพ 10 กลุ่ม การให้บุคคลสมัคร ส.ว.ในนามอิสระและผ่านองค์กรนิติบุคคล และการยกเลิกระบบการเลือกไขว้มาใช้กับการเลือก ส.ว.ใน 5 ปีแรก

แต่หลังจากเมื่อพ้นเวลา 5 ปี จะกลับไปใช้ระบบการได้มาซึ่ง ส.ว.ตามที่ กรธ.บัญญัติมาใช้ ทั้งการให้ ส.ว.มาจากกลุ่มวิชาชีพ 20 กลุ่ม การสมัคร ส.ว.ในนามอิสระเท่านั้น และการเลือกด้วยวิธีการเลือกไขว้

สุดท้าย ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างลงตัว ไม่มียึกยัก ยืดอายุ คสช. แต่อย่างใด

ทว่า หลังการโหวตเสร็จสิ้น ปรากฏว่าเรื่องยังไม่จบ ยังเหลืออีกขยัก หรืออาจจะหมายถึงหลายขยักให้ต้องลุ้น

เมื่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ออกมาเสนอให้ส่งกฎหมายลูกว่าด้วยที่มา ส.. ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ

พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ว. ที่เป็นห่วงว่า เรื่องการสมัคร ส.ว. 2 ประเภท แม้ปรับให้ไปอยู่ในบทเฉพาะกาลแล้ว แต่อดกังวลไม่ได้ว่าจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

ถือเป็นย่างก้าวที่สำคัญของฝ่าย กรธ.

ลำพังความเห็นของนายมีชัย ก็สะเทือนฝ่ายการเมืองอย่างที่สุด แต่ปรากฏว่า ความน่ามีปัญหาได้ถูกตอกย้ำโดย “บิ๊ก” ใน สนช.อย่าง พรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ที่ระบุว่า

สมาชิก สนช. ไม่อยากให้เกิดปัญหาใหญ่เกินกว่าความรับผิดชอบของสภาในภายหลัง จึงมีความเป็นไปได้พอสมควรที่ สนช.จะเข้าชื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ภายหลัง สนช.ลงมติผ่านกฎหมายไปแล้ว

แน่นอนว่าการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาและหากในบั้นปลายศาลวินิจฉัยว่ากฎหมายไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างก็จบและเดินหน้าตามโรดแมป แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น คือ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างกฎหมายส.ว.ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมมีผลต่อโรดแมปเลือกตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทางหนึ่ง มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่จะเอาข้อเสนอใหม่ ไปแปะไว้ในบทเฉพาะกาล ที่ดูแล้วเป็นวิถีแห่งความพิลึกกึกกือ แต่ก็น่าแปลกใจว่า ฝ่าย กรธ. และ สนช. มิได้ตกผลึกก่อนยกมือโหวตหรือ

ทั้งนี้ หากมี สนช. 25 คน ยื่นเรื่องให้กฎหมายลูกที่เพิ่งผ่านที่ประชุมแบบไร้เสียงค้าน ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ก็เหมือนตั้งต้นรื้อกฏหมายลูกกันอีกครั้ง

ยิ่งเมื่อรัฐธรรมนูญระบุว่า พรป. ที่มาของ ส.ว. เป็นหนึ่งใน 4 กฎหมายสำคัญที่ต้องเรียบร้อยก่อนจะเลือกตั้ง

การหย่อนบัตรก็เป็นอันโบกมือลาไปก่อน

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่