หน้าแรก news “วีรศักดิ์” ลั่น! พาณิชย์ เดินหน้าจัดทำงบปี’64 หวังเร่งฟื้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

“วีรศักดิ์” ลั่น! พาณิชย์ เดินหน้าจัดทำงบปี’64 หวังเร่งฟื้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

0
“วีรศักดิ์” ลั่น! พาณิชย์ เดินหน้าจัดทำงบปี’64 หวังเร่งฟื้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
Sharing

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่มาของการประชุมมอบนโยบายกระทรวงพาณิชย์ให้แก่ผู้บริหารกระทรวง และผู้แทนสำนักงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ​ห้องประชุม​ 404​ ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) สืบเนื่อง​มาจากทางสำนักงบประมาณ ได้ประสานมายังกระทรวงพาณิชย์​ขอรับทราบนโยบายเพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564​ โดยมีผู้แทนสำนักงบประมาณ ประกอบด้วย นางสาวชวนชม กิจพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และคณะ เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ สำหรับแนวทางการจัดทำงบประมาณของกระทรวงพาณิชย์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564​ กระทรวงพาณิชย์​เน้นที่ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่12 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจำปี นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงฯ และแผนปฏิบัติราชการกระทรวพาณิชย์ โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชนและประเทศชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการ เพื่อลดความซ้ำซ้อน เกิดความคุ้มค่า และเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกัน อย่างไรก็ตาม​ กระทรวงพาณิชย์ยังคงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงที่ได้มอบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงไว้ เมื่อวันที่ 7 ส.ค 2562 และยังต้องเร่งสานต่อให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ได้แก่ 1.)การประกันรายได้เกษตรกร และบริหารจัดการสินค้เกษตรสำคัญโดยดูแลพืชเศรษฐกิจ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการกระตุ้นราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมทั้งหมด และใช้เกษตรพันธสัญญาช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร 2.) ดูแลราคาสินคา้และบริการให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการและผู้บริโภค 3.) เร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการ เน้นส่งออกพืชผลทางการเกษตร สินค้าบริการ OTOP สินค้าเสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องประดับ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ เน้นรักษาและขยายตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่าที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งผลักดันการค้าชายแดนและผ่านแดน 4.)เร่งรัดการเจรจาการค้าภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การผลักดันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, การฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับ สหภาพยุโรป (EU) ตุรกี ศรีลังกา ปากีสถาน และอังกฤษ รวมถึงต้องเร่งหาข้อสรุปการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางศรษฐกิจภาคพื้นแปซิพิก หรือ CPTPP 5.) พัฒนาระบบงานให้บริการและการบริหารจัดการที่สะดวกรวดเร็ว อาทิ การจดทะเบียนธุรกิจ และเอกสารการค้าระหว่างประเทศ 6.) เร่งรัดการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อใช้ประโชน์ในชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะการเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ระโยชน์เชิงพาณิย์ทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยจัดให้มีหน่วย Mobile Unit หรัพย์สินทางปัญญา ไปให้ความรู้ และให้บริการจดทะเบียนในพื้นที่ต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็น 7.) การผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยสนับสนุนให้ Startup SME OTOP แฟรนไชส์ ใช้ Digital Economy, Bio Economy, Green Economy, Sharing Economy, Creative Economy และการค้าออนไลน์ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า 8.) ผลักดันร้านค้าปลีกรายย่อย และผู้ประกอบการชุมชน พัฒนาสู่ SMART โชห่วย เน้นปรับภาพลักษณ์ของร้าน รวมทั้งสนับสนุนให้นำซอฟต์แวร์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้โชห่วยพัฒนาและยืนหยัดได้ 9.) ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจภาคบริการ เพื่อเพิ่มการแข่งขันของประเทศ อาทิ ร้านอาหาร สปา การดูแลผู้สูงอายุ ดิจิทัลคอนเทนท์ และภาพยนตร์ เป็นต้น เพื่อให้ภาคบริการสามารถเปิดตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ

 


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่