จากกรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งเกิดที่เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศไทยเองซึ่งเป็นปลายทางยอดนิยมของชาวจีน ก็มีมาตรการรับที่ที่เข้มงวดตามมาตรฐานระดับโลก อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการไหล่บ่าของข้อมูลสารจำนวนมหาศาล พบว่ามีข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง (fake news) ซึ่งประชาชนมีการส่งต่อเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ สามารถแบ่ง เป็น 2 กรณี คือ
1.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลของโรค และเหตุการณ์การระบาด
เช่น การแชร์ข่าวลือพบแอร์การบินไทยติดเชื้อ พบผู้ป่วยตายที่พัทยา โรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่หาย การแชร์คลิปภาพและเหตุการณ์อื่นๆแล้วบิดเบือนว่าเป็นกรณีไวรัสโคโรน่า เป็นต้น
2.ความเข้าใจผิดเรื่องมาตรการรับมือของรัฐบาล
เช่น หลายประเทศปิดรับนักท่องเที่ยวจีนทั้งหมดแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง และความเชื่อทำนองว่ารัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขไม่มีมาตรการรับมือโรคระบาด ซึ่งไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะมาตรการของไทยเป็นตัวอย่างดีในสายตาต่างประเทศ กรณีข่าวว่าสนามบินไม่มีเครื่องสแกน เพียงเพราะตนเองมองไม่เห็นเท่านั้น รวมถึงข่าวว่าไทยยังเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนจากอู่ฮั่น ซึ่งไม่จริง เพราะนับตั้งแต่วันที่ 23/01/62 เวลา 1.10 น. ไทย “ไม่เคย” มีไฟลท์บินจากมณฑลหูเป่ย (ซึ่งมีเมืองอู่ฮั่นรวมอยู่ด้วย) มาลงที่ไทยอีกเลย
ตัวอย่างข่าวปลอมที่พบ เช่น
นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่พบ และคาดว่าข่าวปลอมเหล่านี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ภาครัฐ อย่างศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่เพจ Anti-Fake News Center Thailand และเว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com และภาคประชาชนอย่างเพจ Drama-addict ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ประชาชนจะต้องช่วยกันระมัดระวัง ชัวร์ก่อนแชร์ ด้วยการตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้าน และรับข้อมูลจากแหล่งข่าวภาครัฐหรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเท่านั้น