วันนี้ (26 มีนาคม 2563) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “CLEAN Together : คนไทยรวมพลังป้องกันโรค” ณ บริเวณโถงอาคาร 3 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า ช่วงเวลานี้สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำคือมาตรการระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดให้ได้ช้าที่สุด จำกัดพื้นที่การแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด โดยขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ 1) มีการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 – 2 เมตร ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพราะเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจากการไอหรือจามได้ 2) หลีกเลี่ยงการสัมผัส ทางกายภาพเพราะอาจเป็นการนำเชื้อมาสู่ตนเอง หรือในขณะเดียวกันก็เป็นการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 3) หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านหรือการใช้ขนส่งสาธารณะ และ 4) การทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ประกอบกับมาตรการรัฐบาลที่ประกาศปิดสถานประกอบการ โดยยกเว้นร้านขายของชำ ร้านขายยา และร้านอาหารที่ให้บริการแบบซื้อกลับบ้าน ทำให้มีการใช้บริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี (Delivery) เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ขนส่งอาหาร ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหาร ทั้งในเรื่องการปรุงประกอบอาหาร การขนส่ง รวมทั้งสุขวิทยา ส่วนบุคคลของผู้ขนส่งอาหารเพื่อลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19
“ผู้ประกอบการร้านอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี (Delivery) ต้องใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาดสดที่ได้มาตรฐานหรือมีป้ายรับรองตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย อาหารต้องปรุงสุกใหม่ บรรจุอาหารในภาชนะที่เหมาะสม ปกปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร มีการติดฉลากที่ระบุชื่อร้านอาหาร วัน/เดือน/ปี เวลาที่ผลิต ระยะเวลา และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร และจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการโดยจัดระยะห่าง 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ส่วนคนขนส่งอาหาร เดลิเวอรี (Delivery) ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการไอ จาม ลดความเสี่ยงการปนเปื้อนอาหารและได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานขนส่งอาหาร ก่อนเข้าร้านอาหาร และหลังการส่งอาหาร สำหรับในส่วนของผู้บริโภคนั้นเมื่อได้รับอาหารแล้วควรตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารต้องไม่มีกลิ่นบูดเสีย บรรจุในภาชนะที่สมบูรณ์ก่อนบริโภค” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ทางด้าน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้จัดทำแพลตฟอร์ม “กรมอนามัย CLEAN Together” ขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ให้กับ 2 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รถขนส่งสาธารณะ รวมถึงรถขนส่งอาหารเดลิเวอรี (Delivery) ที่ได้รับความนิยมในการใช้บริการช่วงเวลานี้ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งใช้งานผ่านทาง Line application และทาง Web browser โดยเลือกที่แพลตฟอร์ม “กรมอนามัย CLEAN Together” หากผู้ใช้งานเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ให้เข้าไปประเมินสถานประกอบตนเองในช่อง “ประเมินสถานที่” แล้วเลือกประเภทของสถานประกอบการเพื่อประเมินว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกัน COVID-19 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากทำได้ครบตามข้อกำหนดก็จะสามารถปักหมุดพิกัดสถานประกอบการไว้ในแพลตฟอร์มนี้ ว่าเป็นสถานประกอบการที่มีมาตรการในการป้องกัน COVID-19
“หากผู้ใช้งานเป็นประชาชนทั่วไป ก็จะสามารถตรวจสอบพิกัดของโรงแรม ร้านค้า หรือรถขนส่งสาธารณะ ได้อย่างสบายใจ นอกจากนี้ ยังสามารถประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติด COVID-19 หรือไม่ สามารถแนะนำติชมสถานประกอบการที่ไปใช้บริการได้ ช่วยให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่มั่นใจได้ว่าเป็นข่าวกรองจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงตรวจสอบข่าวปลอมจากแพลตฟอร์มนี้ได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องเดินทางก็จะมีคำแนะนำสำหรับการเดินทาง ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นถึงผู้บริโภคนี้ (26 มีนาคม 2563) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “CLEAN Together : คนไทยรวมพลังป้องกันโรค” ณ บริเวณโถงอาคาร 3 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า ช่วงเวลานี้สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำคือมาตรการระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดให้ได้ช้าที่สุด จำกัดพื้นที่การแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด โดยขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ 1) มีการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 – 2 เมตร ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เพราะเชื้อไวรัสสามารถติดต่อได้ผ่านละอองขนาดเล็กที่มาจากการไอหรือจามได้ 2) หลีกเลี่ยงการสัมผัส ทางกายภาพเพราะอาจเป็นการนำเชื้อมาสู่ตนเอง หรือในขณะเดียวกันก็เป็นการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 3) หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้านหรือการใช้ขนส่งสาธารณะ และ 4) การทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ประกอบกับมาตรการรัฐบาลที่ประกาศปิดสถานประกอบการ โดยยกเว้นร้านขายของชำ ร้านขายยา และร้านอาหารที่ให้บริการแบบซื้อกลับบ้าน ทำให้มีการใช้บริการอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี (Delivery) เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ขนส่งอาหาร ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลอาหาร ทั้งในเรื่องการปรุงประกอบอาหาร การขนส่ง รวมทั้งสุขวิทยา ส่วนบุคคลของผู้ขนส่งอาหารเพื่อลดความเสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19
“ผู้ประกอบการร้านอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี (Delivery) ต้องใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาดสดที่ได้มาตรฐานหรือมีป้ายรับรองตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัย อาหารต้องปรุงสุกใหม่ บรรจุอาหารในภาชนะที่เหมาะสม ปกปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร มีการติดฉลากที่ระบุชื่อร้านอาหาร วัน/เดือน/ปี เวลาที่ผลิต ระยะเวลา และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร และจัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการโดยจัดระยะห่าง 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ส่วนคนขนส่งอาหาร เดลิเวอรี (Delivery) ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการไอ จาม ลดความเสี่ยงการปนเปื้อนอาหารและได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานขนส่งอาหาร ก่อนเข้าร้านอาหาร และหลังการส่งอาหาร สำหรับในส่วนของผู้บริโภคนั้นเมื่อได้รับอาหารแล้วควรตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารต้องไม่มีกลิ่นบูดเสีย บรรจุในภาชนะที่สมบูรณ์ก่อนบริโภค” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ทางด้าน แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้จัดทำแพลตฟอร์ม “กรมอนามัย CLEAN Together” ขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ให้กับ 2 กลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร รถขนส่งสาธารณะ รวมถึงรถขนส่งอาหารเดลิเวอรี (Delivery) ที่ได้รับความนิยมในการใช้บริการช่วงเวลานี้ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งใช้งานผ่านทาง Line application และทาง Web browser โดยเลือกที่แพลตฟอร์ม “กรมอนามัย CLEAN Together” หากผู้ใช้งานเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ให้เข้าไปประเมินสถานประกอบตนเองในช่อง “ประเมินสถานที่” แล้วเลือกประเภทของสถานประกอบการเพื่อประเมินว่าได้ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกัน COVID-19 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากทำได้ครบตามข้อกำหนดก็จะสามารถปักหมุดพิกัดสถานประกอบการไว้ในแพลตฟอร์มนี้ ว่าเป็นสถานประกอบการที่มีมาตรการในการป้องกัน COVID-19
“หากผู้ใช้งานเป็นประชาชนทั่วไป ก็จะสามารถตรวจสอบพิกัดของโรงแรม ร้านค้า หรือรถขนส่งสาธารณะ ได้อย่างสบายใจ นอกจากนี้ ยังสามารถประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการติด COVID-19 หรือไม่ สามารถแนะนำติชมสถานประกอบการที่ไปใช้บริการได้ ช่วยให้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่มั่นใจได้ว่าเป็นข่าวกรองจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงตรวจสอบข่าวปลอมจากแพลตฟอร์มนี้ได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องเดินทางก็จะมีคำแนะนำสำหรับการเดินทาง ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว