จากกรณี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 สมาชิกรัฐสภา จำนวน 208 คน ลงมติเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสองฉบับในวาระ ๓ เหตุที่ต้องถูกดำเนินคดี เนื่องจาก มีการเพิ่มเติมหมวด ๑๕/๑ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ทั้งฉบับ และจะมีผลทำให้กฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญจำนวน ๑๐ ฉบับ ต้องถูกยกเลิกไปด้วย ซึ่งกระทบโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของประเทศทั้งหมดและยังจะมีผลให้บรรดาคดีต่างๆ โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ที่ถูกศาลลงโทษไปแล้วหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดี หลุดพ้นจากการกระทำความผิดโดยอ้างเหตุว่ากฎหมายที่ใช้บังคับตามรัฐธรรมนูญ ๖๐ ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
การเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับ จึงเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับกระทำไม่ได้ จะทำได้ก็ต่อเมื่อ ขอมติจากประชาชนก่อน ถึงจะจัดร่างทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลผูกพันตามมาตรา ๒๑๑ การที่สมาชิกรัฐสภา ยังบังอาจลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ขัด หรือแย้ง ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕๕ และ มาตรา 256 ประกอบมาตรา 3 วรรค 2 และไม่มีผลบังคับใช้ตามมาตรา 5
การกระทำของ สมาชิกรัฐสภาจำนวนดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่จงใจปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติธรรมนูญตามมาตรา 234 และ มาตรา 235 ประกอบ พ.ร.ป. ป.ป.ช.
มาตรา 28 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจไต่สวนและมีความเห็น
มาตรา 76 เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
มาตรา ๗๗ เมื่ออัยการสูงสุดได้รับสำนวนคดีอาญาตามมาตรา ๗๖ ไว้แล้ว ให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้รับสำนวน
ดร. ณฐพร โตประยูร 22 มีนาคม 2564