หน้าแรก Article คำเตือนจาก “ม.ร.ว.เสนีย์” ถึง สัตยาบันต้านนายกฯคนนอก ระวัง ปิดทางประเทศ เปิดทางทหาร “คัมแบ็ก”

คำเตือนจาก “ม.ร.ว.เสนีย์” ถึง สัตยาบันต้านนายกฯคนนอก ระวัง ปิดทางประเทศ เปิดทางทหาร “คัมแบ็ก”

0
คำเตือนจาก “ม.ร.ว.เสนีย์” ถึง สัตยาบันต้านนายกฯคนนอก ระวัง ปิดทางประเทศ เปิดทางทหาร “คัมแบ็ก”
Sharing

ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำพรรคอนาคตใหม่เรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองทำสัตยาบัน ปฏิเสธ “นายกฯคนนอก” ในทุกกรณี โดยอธิบายว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทย

ย้อนกลับไปในวันที่ 17 กันยายน ปีพุทธศักราช 2488 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ “นายกฯคนนอก”

ก่อนกลับมารับบทเป็นผู้นำประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ณ เวลานั้น ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศญี่ปุ่นประกาศสงครามกับประเทศกลุ่มมสัมพันธมิตร ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของคนไทยจำนวนมาก นำมาซึ่งการ ก่อตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีภารกิจเพื่อต่อสู้ญี่ปุ่น

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ขบวนการเสรีไทยอยู่ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช

ขบวนการเสรีไทย ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นด้วยดีเรื่อยมา จนกระทั่งญี่ปุ่นประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรโดยปราศจากเงื่อนไขภายหลังจากที่ได้มีการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ

อันที่จริงประเทศไทยควรต้องอยู่ในสถานะผู้แพ้สงคราม และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามชนิดสิ้นเนื้อประดาตัว อันเป็นไปตามความต้องการของรัฐบาลอังกฤษ

เพื่อแก้ปัญหาทั้งหมด จำเป็นต้องหาคนเจรจากับสหรัฐฯอเมริกา

นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงลาออกจากตำแหน่ง ก่อนเชิญให้ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช กลับประเทศไทยเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ด้วยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหม่อมราชวงศ์เสนีย์ กับรัฐบาลสหรรัฐฯ ท้ายที่สุดแล้ว ไทยจึงหลุดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามในที่สุด

เป็นบทบาทของ “นายกฯคนนอก” ที่ไม่ควรมองข้าม

ต่อข้อเสนอของนายธนาธร ชัดเจนว่าปิดประตูการเข้ามาของนายกฯคนนอกในทุกกรณี ที่อาจปิดประตูสำหรับทางออกชาติยามเกิดวิกฤติในอนาคต

จากวันนี้ จนถึงหลังเลือกตั้ง หามีใครได้ทราบว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร การมีช่องให้ประเทศได้เดินหน้า หลายช่อง จึงเป็นสิ่งที่สมควรกว่า

สอดคล้องกับการสัมภาษณ์ของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการหนุ่มจากสถาบันพระปกเกล้า ที่เคยให้ไว้กับรายการ Ringsideการเมือง ระบุว่า

“ยังเร็วเกินไปที่จะมานั่งทำสัตยาบันปิดกั้นนายกฯคนนอก อันที่จริงพรรคการเมืองควรจับมือกัน เพื่อแก้ปัญหาที่เร่งด่วนกว่านั้น เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ต้องมานั่งระดมสมองว่าควรจะเริ่มแก้จากตรงไหน ไปตรงไหน แต่ละพรรคจะช่วยเหลือกันอย่างไรได้บ้าง”

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า

“พรรคภูมิใจ และหลายพรรคการเมืองมีความตั้งใจอยู่แล้วว่าจะเลือกนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะมีเลือกตั้งเมื่อไร แล้วถึงวันนั้นบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร แคนดิเดทนายกฯ หน้าตาเป็นอย่างไร ยังไม่มีใครทราบ จึงเร็วเกินไปที่จะตัดสินใจ ที่สำคัญแต่ละพรรคต่างมีสิทธิ์ในนโยบายของตน พรรคภูมิใจไทย มีเป้าหมายทำในสิ่งที่ดีทีที่สุดให้กับบ้านเมืองอยู่แล้ว ขอให้คุณธนาธรสบายใจ”

นายอนุทิน ตอบคำถาม โดยอิงจากสถานการณ์จริง ที่การเมืองไทย ยังอุดมด้วยความไม่แน่นอน

ทุกทางออกชาติ ย่อมต้องถูกพิจารณา ดีกว่าถูกตีตกไปให้เสียเปล่า

นอกจากนั้น อย่าลืมว่าการเมืองไทย สถาบันทหารมีความเข้มแข็งอย่างยิ่ง หากบ้านเมืองเกิดวิกฤติ หนีไม่พ้นที่ทหารจะออกมายึดอำนาจ

แต่ด้วยเพราะประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างการยอมรับในระดับสากล การยึดอำนาจ ไม่สมควรเกิดขึ้นอีก

รัฐธรรมนูญ จึงเขียนเปิดช่องออกจากจากวิกฤติด้วยนายกฯรัฐมนตรีคนออก ซึ่งมีโอกาสได้รับความยอมรับจาก “ทุกฝ่าย” มากกว่า ดีกว่าปล่อยให้บ้านเมืองไปถึงทางตัน  จบที่การใช้กระบอกปืนยิงทิ้งรัฐธรรมนูญ

ย้อนกลับไปในปี พุทธศักราช 2488 หากฝ่ายการเมืองลงนามทำสัตยาบันปฏิเสธนายกรัฐมนตรีคนนอก หม่อมราชวงศ์เสนีย์จะไม่มีโอกาสมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ไทยต้องเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม เสียเงินปฏิกรรม สิ้นเนื้อประดาตัว

ในอนาคต หากทำสัตยาบัน ปฏิเสธนายกฯคนนอกทุกประตู อาจหนีไม่พ้นการถูกรัฐประหาร

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่