หน้าแรก news เชื่อ พรรคการเมืองไม่รับงาน คสช. ยกเว้นถูก “บังคับ” ให้จำยอม

เชื่อ พรรคการเมืองไม่รับงาน คสช. ยกเว้นถูก “บังคับ” ให้จำยอม

0
เชื่อ พรรคการเมืองไม่รับงาน คสช. ยกเว้นถูก “บังคับ” ให้จำยอม
Sharing

ผศ.ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่างถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง ณ ขณะนี้ว่า ฝ่าย คสช. ต้องการพรรคพวกมาไว้ในมือให้มากที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมศึกเลือกตั้ง แต่ประสบความสำเร็จน้อย นอกจากกลุ่มการเมืองที่ปฏิเสธ คสช.ไม่ได้จริงๆ อาจจะหมายถึงกลุ่มที่ คสช.มีบุญคุณต่อกันมาอย่างยาวนาน หรือกลุ่มที่ คสช. รู้จุดอ่อนเป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นพรรคการเมืองทั่วไป เชื่อว่าต้องบอกปัด คสช. เพราะการมาร่วมงานตอนนี้ ทั้งที่ อีกหลายเดือนกว่าจะเลือกตั้ง ถือเป็นการตัดสินใจที่เร็วเกินไป

และแม้ว่าบางกลุ่มจะมีการดีลกับ คสช.แล้ว แต่หลังเลือกตั้ง หากดุลอำนาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา สิ่งที่เคยคุยกันไว้ ก็อาจถึงคราวจบลงง่ายๆ เหมือนเหตุการณ์เมื่อครั้งสมาชิกของพรรคประชากรไทย ขัดมติพรรคไปหนุนนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2540

“เหตุการณ์เกิดขึ้น หลังการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ปลายปี พ.ศ. 2540 และพรรคร่วมรัฐบาลเดิมมีมติ จะสนับสนุนให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมตรีแทน ด้วยเสียงของพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชากรไทย และ พรรคมวลชน รวม 197 เสียง

ขณะที่พรรคฝ่ายค้านเดิม นำโดย พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการสนับสนุน นายชวน หลีกภัย โดยร่วมกับ พรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคพลังธรรม พรรคไท และพรรคร่วมรัฐบาลสมัย พล.อ.ชวลิต 2 พรรคได้แก่ พรรคกิจสังคม และ พรรคเสรีธรรม รวมได้ 196 เสียง ซึ่งน้อยกว่าฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม อยู่เพียง 1 เสียง

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จึงได้เข้าไปต่อรองกับ ส.ส.พรรคประชากรไทย กลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหม จำนวน 13 คนให้เข้ามาสนับสนุน กระทั่งสำเร็จ รวมได้เป็น 209 สียง และทำให้ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม เหลือเพียง 185 เสียง นายชวน หลีกภัย จึงได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการไม่เคารพกติกาประชาธิปไตย

แต่ก็เป็นภาพสะท้อนว่าการเมือง คือความไม่แน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ ไม่รับประกันอนาคตเสมอไป ยิ่งถ้าหลังเลือกตั้ง หาก คสช. ถูกปฏิเสธโดยประชาชน อาจทำให้อำนาจต่อรองน้อยลง ย่อมหาแนวร่วมลำบาก สิ่งที่เคยคุยกันไว้ ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้”


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่