หน้าแรก news “สุวัจน์” ไม่ต้าน “นายกฯคนนอก” เชื่อเป็นบันไดหนีไฟ ในระบอบประชาธิปไตย

“สุวัจน์” ไม่ต้าน “นายกฯคนนอก” เชื่อเป็นบันไดหนีไฟ ในระบอบประชาธิปไตย

0
“สุวัจน์” ไม่ต้าน “นายกฯคนนอก”  เชื่อเป็นบันไดหนีไฟ ในระบอบประชาธิปไตย
Sharing

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา ให้สัมภาษณ์กับ “มติชน” เรื่องความเห็นต่อนายกฯคนนอก ว่า

“จะเป็นนายกฯคนในหรือคนนอก ส่วนตัวผมรับได้ เพราะถ้าดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้อยู่แล้วว่า กว่าจะถึงนายกฯคนนอกได้จะต้องมีเหตุการณ์ต่างๆ ตามเงื่อนไขของบทเฉพาะกาลก่อน ซึ่งก็กำหนดแค่เฉพาะ 5 ปีแรกเท่านั้นที่จะต้องใช้เสียง 750 คน โดยจะมีเสียง ส.ว. 250 คน เข้ามาร่วมกับ ส.ส. 500 คนโหวตเลือกนายกฯ ไม่ได้ใช้ตลอดไป ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ 750 คนต้องเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อนายกฯ 3 คนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.เสียงเกิน 25 เสียงขึ้นไปด้วย พรรคไหนได้เสียง ส.ส.ไม่ถึง 25 คน บัญชีรายชื่อนายกฯของพรรคนั้นก็จะไม่มีสิทธิเข้าแข่งขันในที่ประชุมรัฐสภาได้ ถือเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้ความสำคัญกับคนจากพรรคการเมืองก่อน

เมื่อประชาชนรับรู้ตั้งแต่ต้นประชาชนก็ตัดสินใจตั้งแต่ต้นเช่นกันว่า จะเลือกใครเป็น ส.ส. แล้วจะได้ใครมาเป็นนายกฯ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่การตัดสินใจของพี่น้องประชาชนไม่ได้ตัดสินใจจากนโยบายหรือตัวผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเท่านั้น แต่จะตัดสินใจจากบัญชีรายชื่อนายกฯเพิ่มเติมด้วย ถือเป็นองค์ประกอบใหม่ที่จะเป็นตัวแปรใหม่ในการตัดสินใจของพี่น้องประชาชน อีกทั้งแคนดิเดตนายกฯที่พรรคการเมืองเสนอยังเปลี่ยนแปลงไม่ได้ด้วย เมื่อก่อนยังเปลี่ยนได้ คนที่เป็นหัวหน้าพรรคอาจจะไม่ได้เป็นนายกฯ แต่ครั้งนี้จะล็อกตั้งแต่ต้นด้วยบัญชีที่เสนอก่อนการเลือกตั้ง

ถามว่ารัฐธรรมนูญเปิดช่องให้มีนายกฯคนนอกหรือไม่ ผมมองว่าเป็นบันไดหนีไฟในระบอบประชาธิปไตยมากกว่า เวลาไฟไหม้ลงลิฟต์ไม่ได้ก็ค่อยมาลงบันไดหนีไฟ ไม่ได้หมายความว่าเริ่มต้นก็จะใช้บันไดหนีไฟเลย ลองใช้ลิฟต์ก่อน แต่ถ้าลิฟต์เสียก็มาออกบันไดหนีไฟเอา ดังนั้น ถ้าเลือกตั้งแล้ว ยังหา 375 เลือกนายกฯในบัญชีไม่ได้ ก็ยังไม่ตัน เพราะยังมีอีกทาง โดยใช้เสียง 2 ใน 3 เพื่อปลดล็อกเลือกคนนอกบัญชีได้ ถือเป็นเจตนารมณ์ที่ดีของผู้ร่างที่นำวิกฤตของบ้านเมืองที่ผ่านมา มาเขียนเปิดช่องให้มีหนทางในการคลี่คลายวิกฤต แต่ก็ไม่ได้ลืมสาระสำคัญที่ว่า คนในที่มาจากการเลือกตั้งต้องมาก่อน”

ขอบคุณภาพ : ประชาชาติธุรกิจ


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่