เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดทำงบประมาณแผ่นดินในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ที่มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้นทุกปี จากปีปี 2558 วงเงิน 2.57 ล้านล้านบาท ล่าสุดงบประมาณประจำปี 2562 วงเงิน 3 ล้านล้านบาท
หากมองย้อนตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา คสช.ฉลองครบรอบ 4 ปี การรับประหาร เมื่อเข้าสู่ปีที่ 5 งบประมาณแผ่นดินในยุค คสช. ที่ไม่มีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบพุ่งทะยานถึง 14 ล้านล้านบาท เมื่อดูกรอบวงเงิน ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่คณะรัฐมนตรีเสนอจะอยู่ที่วงเงิน 3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี 2561 ถึง 1 แสนล้านบาท คิดเป็นงบขาดดุล 4.5 แสนล้านบาท เนื่องจากประมาณการรายได้แล้วจะอยู่ที่ 2.55 ล้านบาท นับเป็นงบประมาณขาดดุลอย่างต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกันภายใต้การนำของ คสช.
สวนทางกับสิ่งที่รัฐบาลเลือกตั้ง สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยประกาศไว้ว่า ภายในปี 2560 ประเทศไทยจะเริ่มจัดทำงบประมาณแบบสมดุล ทว่าภายใต้รัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ และฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากการแต่งตั้ง ก็นำพาประเทศออกห่างจากเป้าหมายดังกล่าวมากขึ้นไปทุกที เมื่อลงในรายละเอียดของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 ที่มีจำนวน 60 มาตรา หากมองจำแนกรายกระทรวงก็จะพบว่ายอดสูงสุด 5 ดับแรกคือ
1.กระทรวงศึกษาธิการ 4.89 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.33
2.งบกลาง 4.68 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.60
3.กระทรวงมหาดไทย 3.73 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.45
4.กระทรวงการคลัง 2.42 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.09
5.กระทรวงกลาโหม 2.27 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.59
ตลอด 5 ปีภายใต้รัฐบาล คสช. ทำให้เห็นว่า การจัดทำงบประมาณแผ่นดินในยุคคสช.ไม่มีการท้วงติงจากฝ่ายสภาแต่อย่างไร เรียกว่าม้วนเดียวจบต่างจากรัฐบาลปกติที่การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลจะระดมสรรพกำลังในการอภิปรายงบประมาณ เรียกว่า ทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องจัดเตรียมข้อมูลให้กับเจ้ากระทรวงชี้แจงรายละเอียดในการจัดทำงบประมาณของแต่ละกระทรวงว่า เอาไปใช้ทำอะไร งบประมาณนี้เพื่อ การจัดทำงบประมาณในส่วนนี้เพื่ออะไร
ถือว่าเป็นงานใหญ่ของรัฐบาลมาทุกยุค เพราะฝ่านค้านจะมีการตจัดเตรียมข้อมูลในการอภิปรายงบประมาณอย่างหนัก ทั้งข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อถล่มรัฐบาล ในแต่ละปีรัฐบาลจะมีการขอเวลาในใช้เวลาในสภาผู้แทนราษฏรในการอภิปรายงบประมาณไม่น้อยกว่า 3 วัน เรียกว่ามีการอภิปรายกันแบบที่เรียกว่ารู้ทุกงบประมาณทุกกระทรวงเลยทีเดียว
แต่สำหรับรัฐบาลคสช.ต่างออกไป เพราะในแต่ละปีเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้ารัฐบาล นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช.จะขอเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง ต่างกันมาก เพราะอะไร เพราะทราบเป็นอย่างดีว่ารัฐสภาที่ไม่มีฝ่ายค้าน ก็จะทำอะไรก็ผ่านฉลุยไร้ปัญหา ดังนั้นในการนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของคสช.อาจจะมีการลุกขึ้นอภิปรายจากสมาชิกสนช.บ้างไม่เกิน 5 คน ส่วนใหญ่เป็นพวกหน้าเดิมๆ ถือว่าเป็นน้ำจิ้มเพียงคนละ 1-2 นาที ก่อนจะยกมือผ่านฉลุย
นี่คือผลพวงที่มาจากรัฐบาลทหาร มาจากการรัฐประหารที่ผู้นำรัฐประหารสามารถสั่งการได้ทุกอย่างไม่มีปัญหาอะไร บรรดาสนช.หลายคนที่เคยอยู่ในวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งสมัยรัฐบาลปกติ ในการอภิปรายงบประมาณบรรดาคนเหล่านี้จะวาดสำนวนโวหาร และอภิปรายแบบไม่ไว้หน้ารัฐบาลปกติมาตลอด แต่มารัฐบาลนี้เงียบกริบ
ประมาณว่า ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับนาย สบายครับท่าน ไม่มีปัญหา ภาพเดิมๆที่เคยออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่าสภาผู้แทนราษฏรไม่ต่างไปจากสภาฝักถั่วคือมีหน้าที่ยกมือเท่านั้น แต่การทำหน้าที่ของสนช.ในยุคนี้ ยิ่งกว่าฝักถั่วเพราะไม่เพียงแต่ไม่เป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชนแล้ว ยังยอมรับการใช้อำนาจของคสช.อย่างน่าชื่นตาบาน
สุดท้ายการจัดทำบประมาณในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเป็นอะไรที่น่าสนใจยังมีอีกเยอะเพราะเป็นที่ทราบกันว่างบประมาณรายจ่ายในแต่ละปี เป็นงบประมาณของแต่ละกระทรวงมากกว่า 80%ที่เหลือเป็นงบลงทุน ดังนั้นยิ่งรัฐบาลก่อหนี้ผูกพันธ์มากเท่าไหร่งบลงทุนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะลดลงตามไปด้วย ไม่นับรวมหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นก็จะเป็นภาระงบประมาณไปอีกหลายปี
อนาคตลูกหลานไทยไม่แคล้วหัวโตตัวผอม เพระแบกหนี้ที่คนรุ่นพ่อ รุ่นลุง ทำไว้ งบประมาณที่ถลุงกันสนุกในช่วงที่ผ่านมาไม่นึกถึงอนาคตหรือว่าเราจะเหลืออะไรให้ลูกหลานไทย
Ringsideการเมือง