หน้าแรก news ครูแจงเบี้ยวหนี้ ชี้ ทำตามหลักประชาธิปไตย!? ด้านเลขาฯ สกสค. เผย ครูส่วนใหญ่ มีวินัย ไม่ชักดาบ ขณะที่รัฐมนตรี เชื่อ ข้อเรียกร้องล้มเหลว ไร้แนวร่วม

ครูแจงเบี้ยวหนี้ ชี้ ทำตามหลักประชาธิปไตย!? ด้านเลขาฯ สกสค. เผย ครูส่วนใหญ่ มีวินัย ไม่ชักดาบ ขณะที่รัฐมนตรี เชื่อ ข้อเรียกร้องล้มเหลว ไร้แนวร่วม

0
ครูแจงเบี้ยวหนี้ ชี้ ทำตามหลักประชาธิปไตย!? ด้านเลขาฯ สกสค. เผย ครูส่วนใหญ่ มีวินัย ไม่ชักดาบ ขณะที่รัฐมนตรี เชื่อ ข้อเรียกร้องล้มเหลว ไร้แนวร่วม
Sharing

จากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค 61 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ ตึก34 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม กลุ่ม “กลุ่มวิชาชีพครู” จ.มหาสารคาม รวมตัวกว่า 100 คน ประกาศ “ปฏิญญามหาสารคาม” เรียกร้องให้รัฐบาล และธนาคารออมสิน พักหนี้ ช.พ.ค.หรือ โครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 เป็นต้นไป พร้อมขอให้ลูกหนี้โครงการ ช.พ.ค ทั่วประเทศจำนวน 450,000 แสนคน ร่วมกันยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 61 เป็นต้นไป กระทั่งมีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก

วันเดียวกัน นายอวยชัย วะทา ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การประกาศครั้งนี้ เป็นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ โดยครูที่เป็นลูกหนี้จากทั่วประเทศ วงเงินกู้รวมกันกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาหนี้ ช.พ.ค. จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา

นายอวยชัย อ้างว่า สมาชิกครูที่เป็นหนี้ ช.พ.ค. ต่างมองว่า ปัญหาหนี้สินของครู ไม่ได้มีสาเหตุมาจากครูไม่มีศักยภาพในการใช้หนี้เพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุจากโครงสร้างหนี้ ระบบการคิดดอกเบี้ย การหักชำระหนี้ที่ไม่เป็นธรรม และไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาตั้งแต่แรก

ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ยังระบุว่า ตัวแทนครูได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องแก้ปัญหาหนี้ให้กับนายตวง อันทะไชย ประธานกรรมาธิการการศึกษาและกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้ดำเนินการพักหนี้ครูอย่างเร่งด่วนโดยให้พักหนี้ครูเป็นเวลา 6 เดือน จากนั้นให้ลดดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 เหมือนเกษตรกร และให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติและรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญและคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินครู พร้อมทั้งประกาศเป็นวาระแห่งชาติภายในเดือน ต.ค.นี้

ล่าสุด นายอวยชัย วะทา ประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย  โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ส่วนตัว ระบุว่า ข้อตกลงร่วมกันเบื้องต้นคือ โครงการนี้เป็นโครงการลักษณะพิเศษเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา

นายอวยชัยยืนยันว่าครูไม่ได้ชักดาบ แต่ให้หยุดหักดอกเบี้ยแบมหาโหด 6 เท่า แล้วหักเงินต้นเมื่อเลือดไหลหมดตัวแล้ว

คนเป็นครูสำนึกตลอดเวลาว่าต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์และคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นแบบอย่างในการคัดค้านสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม เป็นเห็นว่าสถาบันการเงินของรัฐละเมิดแนวทางหรือข้อตกลงร่วมกัน ทำการเหมือนนายทุนเงินกู้หน้าเลือดรีดเลือดกับปู ก็ต้องกล้าออกมาทักท้วงให้ผู้มีอำนาจเข้าไปแก้ไขให้เหมาะสมและเป็นธรรม

สังคมไทยต้องปลุกสำนึกตนเองขึ้นใหม่ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบริโภคนิยม ทำให้คนและสถาบันต่างๆยึดถือเงินเป็นพระเจ้า วัดคุณค่าของคนด้วยปริมาณของเงิน แทนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถนอมรักและช่วยกันหาทางออกด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยึดถือเพื่อนร่วมสังคมเสมือนญาติมิตร

“อ้อสิ่งหนึ่งที่เรียกร้องด้วยประชาธิปไตยตรงตามสิทธิ์ คือไม่เคยปิดถนนนและเผาบ้านเผาเมืองครับ”

นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า “จงรับสภาพการเป็นบุคคลล้มละลายหากกรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท และที่สำคัญมันจะโยงพาบุคคลที่เรารักที่มาค้ำประกันเราเป็นบุคคลล้มละลายไปด้วย

หนี้เกิดโดยนิติกรรม สัญญา ซึ่งเมื่อมีการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้น ก็ย่อมเกิดความเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ขึ้น โดยปกติเมื่อเกิดหนี้ ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากเคราะห์แห่งหนี้ได้ด้วยการชำระหนี้ ตาม ปปพ. มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้อง “กระทำโดยสุจริต”

ผู้นำเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ประกาศจะหยุดชำหนี้ธนาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมเธียเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

การที่เรามีหนี้สินมากและไม่สามารถชำระคืนแก่เจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย ผลที่ตามมาคือ กรณีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหากถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จะขาดคุณสมบัติในการเป็นข้าราชการตามมาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และเมื่อคุณสมบัติไม่ถูกต้องแล้ว มาตรา 110 ก็กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้น ออกจากราชการ ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาใดๆ ทั้งสิ้นได้ รวมถึงธุรกรรมการเงินต่างๆ

ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปจริงๆ ก็ต้องขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีก่อน หากได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทุกๆ 6 เดือน พร้อมทั้งส่งรายได้ตามที่เจ้าพนักงานจะอายัดเข้ากองทรัพย์สินด้วย

การถูกสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี เมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ก็อาจจะมีการขยายเวลาเป็น 5 หรือ 10 ปีก็ได้ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี ก็ให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อได้ปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ

นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เผยว่าก่อนหน้านี้ สกสค.และธนาคารออมสินทำบันทึกข้อตกลงช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิก ช.พ.ค.ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปด้วยดี

หากครูยุติการชำระหนี้ถูกธนาคารออมสินฟ้องร้องและศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย

ปัญหาคือจะขาดคุณสมบัติของการเป็นครู โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหนี้เกิน1,000,000 บาท เรื่องนี้จึงควรมาปรึกษาหาทางออกร่วมกัน ด้าน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เผยว่าไม่มีอำนาจสั่งพักชำระหนี้ให้ใครได้ เพราะอำนาจเป็นของธนาคารออมสิน

สำหรับ โครงการช.พ.ค.มีมาปี 2548 โครงการที่1 ถึง 4 มีวงเงินกู้ไม่เกิน 2 แสนบาท ส่วนโครงการที่ 5 วงเงินกู้6แสนบาท, โครงการที่ 6 วงเงิน1.2 ล้านบาท และโครงการที่ 7 วงเงิน 3 ล้านบาท และมาชะลอตั้งแต่เดือนเม.ย. 2558 ไม่ให้กู้แล้ว พยายามคุยธนาคารออมสินแก้ไขปัญหาหนี้

โครงการช่วงแรกๆ ไม่มีปัญหาเพราะวงเงินกู้น้อย แต่โครงการหลังมีปัญหา และปรับโครงสร้างหนี้ปรับชำระ โดยปีที่แล้วพักชำระเงินต้น 3 ปี ซึ่งออกมาแล้ว มีการลดดอกเบี้ย มีครูได้รับประโยชน์ 3.7 แสนราย ส่วนครูไม่รับประโยชน์จะเรียกมาปรับโครงสร้างหนี้ และสกสค.จะช่วยโดยได้เงินที่ได้จากออมสินปีละ 2,500 ล้าน

และยังครูที่มีวินัยจ่ายหนี้ดี 3 แสนกว่าคนจาก 4 แสนกว่าคน แต่กลุ่มอดีตครูบางคนพยายามปลุกเร้าครูให้ออกมาเป็นแนวร่วม ทั้งที่รัฐบาลกำลังแก้ปัญหาให้

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึง กรณีดังกล่าวว่า  ยังไม่ทราบรายละเอียดและไม่รู้ว่ากลุ่มไหน แต่โดยหลักการคนเป็นลูกหนี้จะประกาศว่าไม่ใช้หนี้คงไม่ได้ และต้องไปถามทางธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าทำได้หรือไม่ ส่วนครูไม่ใช้หนี้แล้วจะถือว่าผิดจรรยาบรรณครูหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ต้องไปถามสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา แต่ตนเชื่อว่าไม่มีใครทำตามเพียงเพราะคนกลุ่มหนึ่งประกาศแน่นอน

“ผมคงไม่ร่วมวิจารณ์ด้วย การเรียกร้องธนาคารออมสินให้พักชำระหนี้ ต้องถามธนาคารออมสิน ว่าพักได้หรือไม่ ส่วนครูมีสิทธิเรียกร้องหรือไม่ ก็ต้องดูว่าที่อยู่ในคลิปมีครูกี่คน ซึ่งผู้ที่กู้โครงการ ช.พ.ค.มีทั้งเป็นข้าราชการประจำ และข้าราชการบำนาญ ผมยังตอบไม่ได้ และเชื่อว่าจะไม่กระทบกับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูตามในโครงการ ช.พ.ค. ตั้งแต่โครงการ 2-7 รวมกว่า 475,000 บัญชี มูลหนี้กว่า 400,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลตั้งแต่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา เพราะการเจรจาจบแล้วและครูส่วนใหญ่ก็พึงพอใจ” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว

ขอบคุณข้อมูล : โพสตืทูเดย์ / เมเนเจอร์ / ไทยรัฐ


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่