หน้าแรก news “นักวิชาการ” ฉะ โครงสร้างประเทศไทยปิดโอกาสการศึกษา แนะเร่งปฏิรูป หนี้ กยศ. ให้ท้องถิ่นช่วยดูแล

“นักวิชาการ” ฉะ โครงสร้างประเทศไทยปิดโอกาสการศึกษา แนะเร่งปฏิรูป หนี้ กยศ. ให้ท้องถิ่นช่วยดูแล

0
“นักวิชาการ” ฉะ โครงสร้างประเทศไทยปิดโอกาสการศึกษา แนะเร่งปฏิรูป หนี้ กยศ. ให้ท้องถิ่นช่วยดูแล
Sharing

ผศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงปัญหาหนี้ กยศ. ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทย ปัจจุบันกองทุนมีผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้จำนวนกว่า 3.6 ล้านรายว่า สังคมประณามคนที่เป็นหนี้ กยศ. ว่าไม่รับผิดชอบต่องสังคม ทั้งนี้ ส่วนตัวยอมรับว่าบางคนก็สมควรถูกตำหนิ แต่อีกจำนวนมหาศาล ไม่สมควรถูกตราหน้าเช่นนั้น เพราะล้วนเป็นผลลัพธ์ของโครงสร้างสังคมไทยที่กำลังบิดเบี้ยว เนื่องจากสังคมเร่งให้คนเข้าสู่ระบบการศึกษา ซึ่งการเรียนการสอน ไม่ใช่สิ่งที่ตลาดแรงงานต้องการ แต่ไม่รับผิดชอบว่าเมื่อเรียนจบออกมาแล้วจะมีงานรองรับหรือไม่ บทสรุปคือ คนไทยต้องกู้เงินไปเรียน ให้จบ ป.ตรี แต่เมื่อจบออกมาแล้ว หางานไม่ได้ ตกงาน กลายเป็นหนี้เพื่อการศึกษา ต้องต่อสู้คดีความ แทนที่จะไปใช้แรง ใช้สมองในการพัฒนาประเทศ

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้นมีวิธีแก้ไขคือ การเรียกลูกหนี้มาประนอมหนี้ สำหรับคนที่ไม่มา ให้ใช้กฎหมายจัดการ แต่สำหรับใครที่มาให้แบ่งการจัดการเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ยกหนี้ให้ เพราะเขาไม่มีกำลังชำระหนี้อย่างแน่นอน ส่วนที่ 2 คือ กลุ่มที่มีกำลังในการจ่ายหนี้ กลุ่มนี้ ต้องพักชำระหนี้ 7-10 ปี ลดดอกเบี้ย ในฝ่ายของลูกหนี้ ต้องทำแผนการชำระหนี้ด้วย

นอกจากนั้น สิ่งที่อยากเสนอคือในส่วนของผู้กู้ยืมรายใหม่ ต้องการให้มีการลดดอกเบี้ยลงไปอีก ที่สำคัญและเป็นแผนการระยะยาวคือการให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแลเรื่องการศึกษา

“เราจะเห็นว่าประเทศไทยมีการกระจุกตัวด้านการศึกษาตามหัวเมืองใหญ่ ทำให้นักศึกษาที่มาจากท้องที่อื่นต้องมีค่าใช้จ่ายตามเข้ามาอีกมาก แต่หากให้ทุกจังหวัดมีมหาวิทยาลัย แต่ละมหาวิทลัยสอนในสิ่งที่ท้องถิ่นต้องการจริงๆ จะลดภาระให้กับนักเรียนได้มาก การกู้เงิน กยศ. ก็ย่อมน้อยลง ขณะที่นักเรียนที่จบออกไปแล้ว จะมีงานในจังหวัดทำ ไม่ต้องเดินทางไกล เมื่อทรัพยากรบุคคลไม่ไหลออกนอกจังหวัด จังหวัดนั้นย่อมเกิดการพัฒนาตามมา” ผศ.ดร.โอฬารกล่าว


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่