นายเกียรติ์อนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ปะจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงนโยบายพักหนี้กองทุนกู้ยืมเรียนเพื่อการศึกษา หรือ กยศ.ว่า ปัญหาของกองทุน กยศ.เกิดขึ้นมาจาก 3 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรก คือ ระบบของกยศ.เองที่ไม่มีการออกแบบถึงการเก็บหนี้ขนาดใหญ่ เพราะในช่วงเริ่มต้นไปพึ่งพาธนาคารกรุงไทยมากกว่า ซึ่งเมื่อเป็นไปตามระบบธนาคารก็มองไปที่คนที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ 2 คือ ไม่มีการวางระบบการบริหารหนี้ตั้งแต่ช่วงแรก คือการเริ่มจ่ายนิดเดียวแล้วเริ่มจ่ายเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ไม่มีการวางแนวทางในการในการป้องกัน และสุดท้ายคือการที่มหาวิทยาลัยลัยต้องการหารายได้เลยให้นักศึกษาเข้ามาเรียนเยอะ เพื่อหารายได้เข้ามา แต่หลังจากนั้นก็มีปัญหาตามมาเพราะนักศึกษาที่จบมาก็เริ่มไม่มีงานทำเพราะในแต่ละปีมีนักศึกษาจบจากระบบมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก
นายเกียรติ์อนันต์ กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศก็มีกองทุนนี้แต่มีการป้องกันคือการลงทะเบียนผู้เสียภาษีและระบบประกันสังคม รวมทั้งมีการวางการจ่ายเงินให้กับนักศึกษาซึ่งในต่างประเทศมีการป้องกันไว้แล้วจึงไม่มีปัญหาการหนีหนี้ ในต่างประเทศมีการคิดเป็นการจ่ายตามเปอร์เซ็นของรายได้ สำหรับประเทศไทย อาจจะต้องมีการดำเนินการกันใหม่ เริ่มนับหนึ่งกันใหม่ มีการวางระบบใหม่สื่อสารใหม่เพื่อไม่ให้เด็กเหล่านี้เป็นผู้ร้ายในสายตาคนอื่น เพราะในความเป็นจริงนักเรียน นักศึกษาเหล่านี้ไม่อยากจะเป็นหนีหนี้กันก็ได้ หากดีไซด์ใหม่ ทางกยศ.ต้องมีการประนีประนอมกับเจ้าหนี้ระบบไม่มีการออกแบบมาก็ไม่มีการตามไม่ได้อยู่ดี
นายเกียรติ์อนันต์ กล่าวด้วยว่า หากกองทุนนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือการศึกษาจริง ก็ต้องมาวางรูปแบบในการให้ทุนใหม่ หากวางระบบดีๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีคนค้ำก็ได้ ซึ่งรัฐต้องใจกว้าง ในส่วนของคนค้ำประกัน กรณีที่เกิดขึ้นกับครูวิภา บานเย็น ครูที่มีปัญหากับ กยศ.ในการไปค้ำประกันให้นักเรียนจนถูกยึดทรัพย์ ถือว่าหนักมาก ดังนั้น กยศ.ควรที่จะมีการปรับการบริหารใหม่เพื่อให้เด็กที่อยากเรียนต้องได้เรียน หากยังใช้ระบบนี้คงไม่มีใครมาค้ำประกันให้ สุดท้ายเด็กก็มีปัญหาไม่ได้เล่าเรียนในที่สุด การพักชำระหนี้กยศ.แทนที่จะพักชำระหนี้ ก็มาเป็นการใช้หนี้ในระดับต่ำก่อน เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสีย กยศ.ควรที่จะวางระบบการชำระหนี้ใหม่ เพือไม่ให้เด็กเสียประวัติ