หน้าแรก news “ศุภชัย” ผลักดัน “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” สู่นโยบายเศรษฐกิจภูมิใจไทย ชี้ “ชาวบ้านจะมีอาชีพมั่นคงได้ ถ้ากฎหมายถูกปรับปรุง”

“ศุภชัย” ผลักดัน “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” สู่นโยบายเศรษฐกิจภูมิใจไทย ชี้ “ชาวบ้านจะมีอาชีพมั่นคงได้ ถ้ากฎหมายถูกปรับปรุง”

0
“ศุภชัย” ผลักดัน “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” สู่นโยบายเศรษฐกิจภูมิใจไทย ชี้ “ชาวบ้านจะมีอาชีพมั่นคงได้ ถ้ากฎหมายถูกปรับปรุง”
Sharing

นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงแนวคิด “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” ว่า ปัจจุบันโลกไปไกลแล้ว เมื่อมีระบบอิยเตอร์เน็ตเข้ามา ก็เปิดโอกาสในการทำธุรกิจมากขึ้น โดยใครมีธุรกิจที่ต้องการขายสินค้า หรือ มีห้องว่างให้เช่าก็สามารถนำมาทำประโยชน์ได้ เช่น การเปิดแอพพลิเคชั่น เพื่อมาเปิดโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สิน ทั้งบ้าน ทั้งห้องว่าง ทั้งรถยนต์ ทั่วโลกเขาทำมานานแล้วแต่ประเทศไทยทำไม่ได้เพราะกฏหมายยังไม่รองรับ ยกตัวอย่างคือ Airbnb, grab taxi  ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องมาดูว่าจะมีการแก้ไขกฏหมายเพื่อเอื้อต่อการทำธุรกิจของประชาชนมากน้อยแค่ไหน  ซึ่งพรรคภูมิใจไทย เตรียมนำเสนอนโยบายภายใต้แนวคิดที่ว่า  ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับประชาชน

“อย่างถ้าใครมีบ้านที่ต่างจังหวัด หากมีห่องว่าง 1 ห้อง เราก็เปลี่ยนทรัพย์สินส่วนบุคคลมาสร้างเงิน สร้างอาชีพให้ชาวบ้านด้วยการรองรับนักเที่ยว  หรือเวลาเราขับรถมาทำงาน ก็รับผู้โดยสารที่จะผ่านทางเดียวกันอันนี้ ได้เที่ยวละ 200-300 ตกหนึ่งเดือนมันก็เป็นรายได้เสริมให้กับมนุษย์เงินเดือน”

ส่วนปัญหาที่ว่า เจ้าของกิจการโรงแรมขนาดใหญ่หรือบรรดาแท็กซี่จะออกมาต่อต้าน นายศุภชัย กล่าวว่า เราต้องยกเลิกการผูกขาดทางการค้า อันนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” แบ่งปันทางการค้ากัน คือให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ร่วมกัน เราจะต้องเปิดโอกาสในการทำธุรกิจให้กับนักธุรกิจหน้าใหม่มากขึ้น ซึ่งการจะดำเนินการได้นั้นทางภาครัฐต้องมีการการจัดการโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่

“แนวคิดของท่านรัฐมนตรีคลังเรื่องแชร์ริ่งอีโคโนมี ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง แต่ผมคิดว่ายังไม่ครอบคลุมประชาชนในวงกว้างเหมือนที่ภูมิใจไทยจะทำ และจากข่าวที่ออกมาเกรงว่ามันยังวนเวียนอยู่ที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่หรือไม่”

รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแนวนโยบายในการแก้ปัญหากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ว่าเป็นนโยบายที่ทางพรรคภูมิใจไทยคิดทำกันมาตั้งแต่ปี 2557 แล้ว จึงยืนยันว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นจริงอย่างแน่นอน

ตนคิดมานานแล้วก่อนที่จะมีการกรณีของครูวิภา บานเย็น ที่ไปค้ำประกันให้เด็กเกิดขึ้น ซึ่งตนมองเห็นมานานแล้วว่ามันจะกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ ในแต่ละปี กยศ.มีการฟ้องร้องลูกหนี้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย ถือว่ามาก แต่หากมีการแก้ไขก็น่าจะเป็นอะไรที่ดี ทำให้นักศึกษาหายใจโล่งมากขึ้น ซึ่งเรื่องหนี้กยศ.เป็นปัญหามานานเราจึงต้องเร่งแก้หากเราไม่ได้เป็นรัฐบาลหรือรัฐบาลไหนจะเอาไปทำเราก็ไม่ว่า ถือว่าดีกับประเทศด้วย อีกทั้ง เยาวชนเหล่านี้ไม่ได้เป็นคนร้าย แต่เขาต้องการมีการศึกษาแต่ไม่มีทุน ก็เลยจำเป็นต้องกู้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น

นอกจากนี้ ตนยังเห็นด้วยกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่อยากให้บริษัท ห้างร้าน เอกชน ให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้ในการมีงานทำ เพื่อที่เขาจะได้มีโอกาสทางสังคมมากกว่านี้ นอกจากนี้แล้วอยากให้มีการปฏิรูปเรื่องการศึกษา ปฏิรูปหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กที่จบมัธยมศึกษามีงานทำ เมื่อเด็กเหล่านี้มีงานทำก็จะทำให้เขามีโอกาสในการศึกษาตามมา

แนวนโยบายของพรรค นอกเหนือจากนโยบายเรื่องแก้หนี้กยศ.ก็อยากเสนอแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาด้วย ซึ่งในการแก้หนี้กยศ.นั้น ไม่มีการนำงบประมาณใหม่เข้ามาแก้ แต่เป็นเรื่องของการบริหารจัดการ ไม่เป็นภาระงบประมาณ ซึ่งไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่เป็นการหาทางให้เด็กมีโอกาสในตลาดแรงงานมากขึ้น นอกจากนี้แล้วการพักหนี้ไม่ได้เป็นการยกหนี้เพียงแต่เป็นการบริหารการเงินใหม่ ให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้มีโอกาสทางสังคมมากขึ้น

ตนมองว่าคงมีกรณีแบบครูวิภาอีกหลายหมื่นคน ดังนั้น จากการเสนอแนะของนายอนุทิน ว่าการกู้เงินเพื่อการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนค้ำ เพราะเป็นการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาเป็นการพัฒนาประเทศ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคนค้ำประกันก็ได้ เพราะคนที่กู้เงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในการศึกษา เป็นบุคลากรของประเทศที่รัฐบาลต้องดูแล ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยมาโอบอุ้มบุคลากรเหล่านั้น

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า ในการเสนอนโยบายเรื่องหนี้กยศ.นั้น ในทางหลักการก็ต้องดำเนินการเพื่อหาจุดสมดุลทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะดำเนินกันอย่างไร  และในส่วนของการกู้รอบใหม่ เป็นเรื่องของอนาคตที่จะมีแนวนโยบายเช่นไร


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่