หน้าแรก news เรื่องใหญ่ ! “ศุภชัย” ชี้ กม.เพิ่มโทษไม่พกใบขับขี่ ส่อขัด รธน. ม.77 หวั่น “โทษแรงเกิน” บีบประชาชนเลือกจ่ายใต้โต๊ะแทนขึ้นศาล

เรื่องใหญ่ ! “ศุภชัย” ชี้ กม.เพิ่มโทษไม่พกใบขับขี่ ส่อขัด รธน. ม.77 หวั่น “โทษแรงเกิน” บีบประชาชนเลือกจ่ายใต้โต๊ะแทนขึ้นศาล

0
เรื่องใหญ่ ! “ศุภชัย” ชี้ กม.เพิ่มโทษไม่พกใบขับขี่ ส่อขัด รธน. ม.77 หวั่น “โทษแรงเกิน” บีบประชาชนเลือกจ่ายใต้โต๊ะแทนขึ้นศาล
Sharing

จากกรณีที่กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างการบูรณาการกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ประกอบด้วย

1.มาตรา 64 ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต กฎหมายใหม่เสนอให้ปรับเพิ่มโทษเป็น จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

2.มาตร 65 กฎหมายใหม่เสนอให้เพิ่มโทษจำคุกเข้ามาด้วย คือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ส่วนโทษ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

3.มาตรา 66 ขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต กฎหมายใหม่ เสนอให้ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ล่าสุด นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวในประเด็นดังกล่าวว่า ทันทีที่เห็นร่างกฎหมาย สิ่งที่กังวลคือ โทษที่เพิ่มขึ้น สำหรับประชาชนนับว่าหนักมาก เมื่อการจ่ายค่าปรับ ไปจนถึงต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูงลิ่ว ประชาชนย่อมหาทางออก หลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับ การสู้ในกระบวนการยุติธรรม เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่แย่ๆบางคนใช้โอกาสตรงนี้หารายได้ ดังนั้น แทนที่จะแก้ปัญหาวินัยการจราจร มันจะกลายเป็นไปเพิ่มรายได้ให้กับเจ้าหน้าที่เลวๆแทน

“ถ้าคิดจะแก้ปัญหาจริง มันต้องมีจุดเหมาะสม เป็นโทษปรับที่สูง ให้รู้สึกเข็ดหลาบ แต่สามารถฝืนจ่ายได้ ฝืนยอมรับโทษได้ ไม่ใช่โทษสูงเกินไป จนประชาชนเลือกไปจ่ายใต้โต๊ะดีกว่า”

นายศุภชัย กล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ความพยายามแก้ไข พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522   อาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ที่ระบุว่า รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จําเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่หมดความจําเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ โดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดําเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็น และการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนํามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่กําหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม กับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยที่ผ่านมา การแก้ไขกฎหมายที่กำลังเป็นประเด็นข้างต้น ไม่เคยมีการรับฟังความเห็นของประชาชน ทั้งยังเป็นกฎหมายที่อาจไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เพราะมีค่าปรับที่สูงเกินไป


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่