หน้าแรก news สุริยะใส ชี้ ยกฟ้องคดีสลายพันธมิตร สะท้อนปัญหา ในกระบวนการยุติธรรม

สุริยะใส ชี้ ยกฟ้องคดีสลายพันธมิตร สะท้อนปัญหา ในกระบวนการยุติธรรม

0
สุริยะใส ชี้ ยกฟ้องคดีสลายพันธมิตร สะท้อนปัญหา ในกระบวนการยุติธรรม
Sharing

จากกรณีที่ศาลฎีกาคดีนักการเมืองยกฟ้องพลตำรวจเอกสุชาติ เหมือนแก้ว คดีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร โดยมิชอบ ว่า

ยกฟ้องตำรวจสลายการชุมนุมของพันมิตรฯ 7 ตุลาฯ 51 ….ความพิกลพิการของต้นทางกระบวนการยุติธรรม

กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกฟ้องคดีที่ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นอุทรณ์ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผบช.น.ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีออกคำสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ปิดล้อมทางเข้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 จนมีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 471 ราย

ผมเคารพและน้อมรับคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

แต่ผลคดีดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนความพิกลพิการ และความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมในชั้นต้น เพราะกลายเป็นว่า การใช้แก๊สน้ำตาของตำรวจไม่เกินกว่าเหตุ ไม่ได้ทำให้ใครตายเลยแม้แต่คนเดียว รวมทั้งถือว่าสมควรแก่เหตุด้วย และนั่นเท่ากับว่า “น้องโบว์” ผู้เสียชีวิตพกระเบิดไปหรือพวกเดียวขว้างระเบิดโดนกันเองอย่างนั้นหรือ?

ทั้งที่ข้อเท็จจริงเหตุการณ์ดังกล่าว มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และวัตถุพยานชัดเจน ว่า แรงระเบิดมาจากภายนอกเสื้อของ “น้องโบว์” ซึ่งรองโฆษก ตร.ในตอนนั้น จึงได้ขอโทษแม่น้องโบว์ และหุบปากเงียบสนิท เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกฟ้องคดีอาญาและแพ่ง

นอกจากนั้น ตามข้อเท็จจริงแก๊สน้ำตาแบบจีน มีดินระเบิด C4 ซึ่งมีส่วนประกอบของสาร RDX อยู่ 7 กรัม จึงมีการระเบิดเสียงดังและรุนแรงมากพอที่จะทำให้คนโดนระเบิดโดยตรงบาดเจ็บพิการหรือแม้แต่เสียชีวิตได้

ถ้าย้อนไปอ่านคำพิพากษาศาลปกครอง รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรรมาธิการวิสามัญฯวุฒิสภา หรือแม้แต่ผลการชี้มูลของ ปปช.ต่างยืนยันว่าตำรวจกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่เป็นไปตามหลักสากล

แต่การกล่าวหาใส่ความกลุ่มผู้ชุมนุมว่าพวกเดียวกันทำระเบิดตกใส่ แต่การสืบสวนสอบสวนของตำรวจผู้รับผิดชอบการใช้แก๊สน้ำตากลับไม่รู้ว่าเป็นใครเป็นคนขว้างหรือยิงใส่

เพราะข้อเท็จจริงเป็นเพียงการแต่งเรื่องสอบสวนขึ้นเท่านั้น

เมื่อสอบสวนเป็นคดีไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดมาหนึ่งปีตามระเบียบแล้ว ตำรวจก็เสนอให้อัยการสั่ง “งดสอบสวน”

ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ที่ผมอยากชี้ คือ คดีที่ตำรวจเป็นผู้ถูกกล่าวหา แต่กลับมีอำนาจสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานสรุปสำนวนส่งให้อัยการ จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าการสอบสวนเป็นไปด้วยความสุจริตไม่มีการบิดเบือนพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง

ตามมาตฐานสากล คดีสำคัญเช่นนี้หรือที่มีการร้องเรียนจะต้องให้อัยการมีอำนาจตรวจสอบหรือควบคุมการสอบสวนตั้งแต่เกิดเหตุ แต่ประเทศไทยปล่อยให้ตำรวจเห็นและรวบรวมพยานหลักฐานเพียงฝ่ายเดียวสรุปแล้วส่งให้อัยการ โดยไม่มีโอกาสได้เห็นพยานหลักฐานทั้งหมด และสั่งคดีไปตามที่ตำรวจสรุปเสนอกันเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

การสอบสวนต้นทางกระบวนการยุติธรรมจึงมีความสำคัญที่สามารถสร้างความเข้าใจผิดและความไม่เป็นธรรมต่อประชาชน รวมทั้งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองได้ เพราะตำรวจบางนายอาจทำความจริงให้เป็นเท็จ และปั้นแต่งความเท็จให้เป็นจริงได้ หรือแม้กระทั่งกล่าวหาใส่ความผู้เสียหายและพรรคพวกให้ได้รับความเสียหาย เกิดความคับแค้นใจ

ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งปฏิรูประบบงานสอบสวนต้นทางกระบวนการยุติธรรมที่สำคัญของประเทศให้หลักประกันความสุจริตและมีประสิทธิภาพแท้จริงด้วยการกำหนดให้พนักงานอัยการเข้าตรวจสอบควบคุมการสอบสวนคดีสำคัญ รวมไปถึงการบันทึกภาพและเสียงการสอบปากคำบุคคลทั้งผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและประจักษ์พยานปากสำคัญ

เพื่อป้องกันการสร้างพยานหลักฐานเท็จหรือบิดเบือนพยานหลักฐานให้ผิดไปจากความเป็นจริงอย่างเร่งด่วน

อย่าให้ความพิกลพิการของกระบวนการสอบสวนทำลายความน่าเชื่อถือต่อระบบยุติธรรมของประเทศโดยรวม


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่