หน้าแรก Article 4 ปี “อนุทิน” กับบทบาท “สารถีส่งชีวิต”

4 ปี “อนุทิน” กับบทบาท “สารถีส่งชีวิต”

0
4 ปี “อนุทิน” กับบทบาท “สารถีส่งชีวิต”
Sharing

“เข้าใกล้การเลือกตั้ง ก็เลยโชว์ทำดีเพื่อประชาชน ถุยยยย”

เป็น 1 ใน FBcomments ที่ปรากฏในข่าว “อนุทิน บินด่วนเชียงราย 6 ชม. รับส่ง ‘1 หัวใจ-2 ไต’ ช่วยยืด 3 ชีวิต”

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะต้องยอมรับว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา ภาพของนักการเมืองถูกกระทำให้เป็นผู้ร้ายในสังคมอย่างต่อเนื่อง

ทว่าในความเป็นจริง “นายอนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หรือที่คนใกล้ชิดเรียกกันว่า “พี่หนู” – “น้องหนู” อาสาขับเครื่องบินรับส่งหัวใจมานาน และไฟลท์ล่าสุด ก็เป็นครั้งที่ 22 เข้าไปแล้ว

บทบาทสารถีชีวิตของนายอนุทิน ปรากฏเป็นข่าวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557 เมื่อ FB : Champ Ruangphungthong ระบุข้อความว่า

“คุณอนุทิน ชาญวีรกูล เพิ่งขับเครื่องบินส่วนตัวของท่านเองกลับจากอุดรธานี เพื่อนำหัวใจคนป่วยที่ผ่าตัดไปแล้วแต่สมองเกิดตายแต่หัวใจยังใช้ได้อยู่ นำมาให้ผู้ป่วยที่นอนรอหัวใจเพื่อทำการผ่าตัดอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ..

ท่านเล่าให้ฟังว่า “ผมไม่ได้คิดเงินอะไรเลย ผมอยากทำบุญ พอดีคุณหมอเป็นเพื่อนผม จะนั่งเครื่องไปรับเมื่อคืนกลางดึกแต่ไม่มีไฟลท์ไปแล้ว ผมเลยตัดสินใจบินออกไปตอน 23.00 น. หมอเพิ่งผ่าตัดเสร็จเมื่อตี 4 ผมก็รีบบินกลับมาส่งเลยเพราะเดี๋ยวมันจะเสีย”

เที่ยวบินดังกล่าวเป็นการประสานโดย อ.นายแพทย์ พัชร อ่องจริต ศัลยแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นเพื่อนของนายอนุทิน

เรื่องของเรื่องคือ ที่โรงพยาบาล มีผู้ป่วยรออวัยวะอยู่แล้ว แต่กว่าจะได้อวัยวะมาต่อชีวิตเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะอวัยวะชิ้นนั้น ต้องสมบูรณ์ ขณะที่เจ้าของต้องอยู่ในสภาวะสมองตาย จึงจะได้รับอนุญาตให้นำอวัยวะ ออกจากร่างได้

ความบังเอิญแบบนี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก

และเมื่อมันเกิดขึ้น ก็มักใช้ประโยชน์จากอวัยไม่ได้ เพราะไม่มีทีมไปรับส่งอวัยวะอย่างทันท่วงที เพราะภารกิจนี้ หากนับตั้งแต่การไปรับ สู่การผ่าตัด ต้องจบภายใน 4-8 ชั่วโมงเท่านั้น

หลายครั้งที่อวัยวะ กับผู้ป่วย อยู่คนละจังหวัด ต่อให้ขับรถเร็วจี๋ ก็มักประสบกับความล้มเหลว

ดังนั้น ภารกิจดังกล่าวต้องอาศัยทั้งคนและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงจริงๆ

ในวันที่ 16 ธันวาคม 2557 “คุณหมอพัชร” ทราบว่ามี “หัวใจ” ที่ จ.อุดรธานี “รอ” ไปต่อชีวิตผู้ป่วย ที่ กรุงเทพฯ แต่ด้วยปัญหาเดิม คือไม่รู้จะหาใครไปรับอวัยวะได้ทันการ ทว่าในฐานะแพทย์ ต้องช่วยเหลือให้ถึงที่สุด

เพราะนอกจากจะเป็นการต่อชีวิต ยังช่วยให้ผู้ที่จากไปได้บุญใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย

คุณหมอโทรหาเพื่อนเก่า เพื่อนเก่าคนนั้นต้องมีเครื่องบินพร้อมใช้งาน ต้องขับเครื่องบินอย่างชำนาญ ภารกิจนี้อยู่บนความคล่องตัวมากที่สุด

ปลายสายคือ “นายอนุทิน ชาญวีรกูล”

และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้นายอนุทิน ได้เข้าสู่การเป็น “สารถีส่งต่อชีวิต” โดยมีนายแพทย์พัชร และทีมงาน เป็นสื่อกลาง

แต่นั้นเป็นต้นมา นายอนุทินเตรียมพร้อมเพื่อรับสายคุณหมอพัชรแบบ 24 ชั่วโมง

จากคนที่เคยจิบแอลกอฮอล์บ้าง ก็บอกลากันไป นายพรชัย จิตรนวเสถียร  นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ อธิบายว่า

“ท่านต้องเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดเพื่อเตรียมพร้อมสภาพร่างกายตนเองให้พร้อมเสมอสำหรับภารกิจการขับเครื่องบินรับบริจาคอวัยวะทั่วประเทศไทยตลอดเวลา”

จำนวนไฟลท์ “ชีวิต” นั้นมากมาย จนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2559 สภากาชาด ต้องจัดมอบโล่อันทรงเกียรติแทนคำขอบคุณ

ถึงวันนี้ นายอนุทิน ยังคงเป็นสารถีส่งชีวิต ซึ่งเจ้าตัวมักจะถล่มตนว่า “ผมเป็นเพียงเด็กส่งของครับ งานหนักอยู่ที่ทีมแพทย์และพยาบาล” ที่นายอนุทิน โพสต์หลังจากเสร็จภารกิจการช่วยเหลือครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งนายอนุทิน ต้องรับหัวใจ และไต 2 ข้าง จากผู้ประสบอุบัติเหตุ จนถึงขั้นสมองตาย ไปช่วยเหลือผู้ป่วย

แน่นอน แม้นายอนุทินจะเปรียบตัวเองเป็นเพียงคนส่งของ แต่ของที่ว่าหาใช่สิ่งสามัญ

ทว่าเป็น “ชีวิตคน”

ทั้งนี้ การขึ้นบินแต่ละครั้ง หาใช่เพียงช่วยหนึ่งชีวิต แต่หลายครั้งที่นายอนุทิน ขึ้นบินเพื่อไปรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในคราวเดียว ที่สามารถต่อลมหายใจให้กับ 2-3 ชีวิต

ความทุ่มเทของนายอนุทิน อาจจะช่วยคนได้ถึง 50-60 คน ซึ่งนอกจากจะหมายถึงชีวิตของผู้ป่วย

ในเบื้องหลัง ผู้ป่วยคนนั้น ต้องเป็นแม่ของใครสักคน พ่อของใครสักคน ลูกของใครสักคน ซึ่งล้วนมีความสุขที่สุดในชีวิต จากการไม่ต้องสูญเสียคนที่เขารัก

ทั้งหมด เกิดมาจากบทบาทสารถีชีวิต ของผู้ชายที่ชื่อ “อนุทิน”

ดังนั้น เรื่องของนายอนุทิน จึงมิควรถูกดูแคลน

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่