หน้าแรก Article “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” ลดพลังทุนใหญ่ ต่อลมหายใจ “ธุรกิจรายย่อย”

“ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” ลดพลังทุนใหญ่ ต่อลมหายใจ “ธุรกิจรายย่อย”

0
“ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” ลดพลังทุนใหญ่ ต่อลมหายใจ “ธุรกิจรายย่อย”
Sharing

ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ กับการประกอบการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ ที่ถือว่าเป็นธุรกิจเอสเอ็มอีที่ชาวบ้านหลายคนหันมาให้ความใจในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด สัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนะธรรมของท้องถิ่นไทยได้อย่างดี

ด้วยราคาที่ไม่แพงเกินไป เหมาะการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่สัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติอย่างแท้จริง เป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนแบบชิล ชิล จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในช่วงที่ผ่านมา

บรรดาผู้ประกอบการโรงแรมต่างหันมามองกันเป็นแถว บางพื้นที่สามารถที่จะทำธุรกิจร่วมกันได้ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป ในขณะที่บางพื้นที่ “ผู้มาก่อน” รู้สึกว่าแข่งขัน สร้างบรรยากาศกรุ่นๆ ในพื้นที่

แต่กระนั้นก็ตามด้วยกฏหมายประเทศไทยบางครั้งเป็นกฏหมายเก่าล้าหลังและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ทันสมัยก็กลายเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลร้ายกับการทำธุรกิจเล็กของคนในพื้นที่

เพียงเพื่อที่จะมีรายได้เข้ามาจากสิ่งที่ตัวเองมีคิดเป็นเงินก็ไม่มากอะไรแต่มันคือความภูมิใจของคนในพื้นที่ ก็ไม่สามารถทำได้  เพราะระเบียบของมหาดไทย ที่กำหนดเรื่องโฮมสเตย์กระทบต่อชาวบ้านและผู้ประกอบการรายย่อย ต้องปิดกิจการ

ล่าสุดเหตุเกิดที่จังหวัดน่าน ชาวบ้านและผู้ประกอบการที่พักรายย่อย ของจ.น่าน ที่เปิดให้บริการโฮมสเตย์และห้องพักรายวัน ได้ปิดกิจการไปแล้วจำนวนหลายราย เนื่องจากระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ที่กำหนดให้โฮมสเตย์มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง รวมทั้งห้องพักของเจ้าของบ้าน ได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านมาก เนื่องจากจำนวนมากมีห้องพักเกินกว่าที่กำหนด

ชาวบ้านมีพื้นที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว ได้สร้างห้องพักใกล้ๆบ้าน เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวนไม่กี่ห้อง บางคน 5 ห้อง บางคน 10 ห้อง ซึ่งเป็นจำนวนไม่มาก ได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาตักเตือนและบางรายถูกจับกุม ได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะเป็นรายได้เพียงเล็กน้อยพอยังชีพ เมื่อมาทำแบบนี้ก็ขาดรายได้

ทั้งนี้ น่าน เป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว โดยเฉพาะในหน้าหนาว เนื่องจากมีธรรมขาติที่สวยงาม และอากาศดี ซึ่งชาวบ้านส่วนหนึ่ง ได้สร้างหัองพักเล็กๆ จำนวนไม่กี่ห้องรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งที่พักส่วนใหญ่จะถูกจับจองในช่วงหน้าหนาว

“การกำหนดให้โฮมสเตย์มีห้องพักเพียง 4 ห้อง รวมทั้งห้องเจ้าของบ้านด้วย เท่ากับมีห้องพักให้บริการ เพียง 1-2 ห้องเท่านั้น รายได้คืนละ 200-300 บาท หรือไม่เกิน 500 บาท/ห้อง สัปดาห์หนึ่งมีคนเข้าพัก 2-3 วัน ชาวบ้านมีรายได้เพียงเดือนละไม่เกิน 3,000-4,000 บาท จะเพียงพอต่อการยังชีพได้อย่างไร

รัฐบาลบอกว่า จะส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้ แต่กลับกำหนดกฎระเบียบที่บีบบังคับชาวบ้านมากเกินไป น่าจะกำหนดไม่เกิน 10 หรือ 20 ห้อง จะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งชาวบ้านไม่มีความสามารถที่จะไปจดทะเบียนเป็นโรงแรม ที่จะต้องมีการจัดการระบบบัญชี ระบบการจัดการต่างๆ ที่ยุ่งยากและมีต้นทุนสูง ฝากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้ ก่อนหน้าหนาวที่จะมาถึง”

จากปัจจัยดังกล่าวนี่เองจึงส่งมีผลให้พรรคภูมิใจไทยเล็งเห็นว่าหากไม่มีการดำเนินการอะไรก็จะส่งผลร้ายกับทั้งผู้ประกอบการรายย่อยและนักท่องเที่ยว เป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยวไปด้วย เพราะนิยามของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติคือ เรานำธรรมชาติที่มีอยู่ มาสร้างให้เป็นรายได้เข้ามาสู่ชุมชน เข้าประเทศ แต่เมื่อกฏหมายที่ล้าหลังทำลายการท่องเที่ยวก็ต้องมาพิจารณาเพื่อหาทางออกเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ทั้งรัฐและชาวบ้าน

ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นทางพรรคภูมิใจ โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ได้มีการแสดงจุดยืนเรื่องการจะผลักดันนโยบาย “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน” ซึ่งหากได้ติดตามมาตลอดก็จะทราบว่าหมายถึงอย่างไร แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่า คือการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นคนละมิติกัน

หลักการ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ในมิตินี้คือหลัก Sharing Economy หมายถึง รูปแบบเศรษฐกิจ ที่ใครมีอะไรซึ่งเป็นทรัพย์สินก็เอาออกมาแชร์ในรูปการเช่า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ การเกิดขึ้นของรูปแบบเศรษฐกิจนี้ เป็นผลพวงจากที่มีอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงกันได้โดยง่าย โดยมีแพลตฟอร์มหรือพื้นที่อะไรสักอย่างเป็นตัวกลางในการเป็น market share เช่น Airbnb, Uber, Grab ซึ่งในไทยยังถือว่ายังไม่ถูกกฎหมาย

นอกจากนี้ ส่วนตัวอยากบอกว่ามีกฎหมายห่วยๆแบบนี้อีกมากมายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ที่ถึงเวลาต้องปรับปรุงพัฒนา เพราะกฎหมายคืออำนาจของรัฐ รัฐจะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบังคับหรือลิดรอนอำนาจของประชาชน จนติดนิสัย

ทั้งที่รัฐได้อำนาจนั้นมาจากประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง เราจึงควรจะต้องปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ อาจกล่าวได้ว่าถึงเวลาเสียทีที่จะต้องลดอำนาจรัฐ

นี่คือหนึ่งในทางออกสำคัญที่จะพาประเทศไทยออกจากกับดักความยากจน คือเราต้องยอมรับก่อนว่ากฏหมายอย่างเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศหรือการนำประเทศก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน จึงเป็นการนำเอากฏหมายที่มีอยู่มาสังคยานากันใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เราไม่ได้ให้อำนาจประชาชนมีมากกว่าภาครัฐ แต่ให้แก้ไขกกหมายบางตัวที่โบราณไม่ทันยุค เพื่อเปิดทางให้มีการพัฒนาประเทศได้อย่างรื่นไหล นี่จึงเป็นทางออกที่จะทำให้ชาวบ้านและรับอยู่ร่วมกันด้วยความสุข เพราะเมื่อประชาชนมีรายได้จากสิ่งที่เขามี และดูแลรักษาวัฒนะธรรม ธรรมชาติ ก็จะทำให้รัฐสบายใจเพราะประชาชนจะร่วมมือกับรัฐในการจัดการให้สัมคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ในที่สุด

วัฒนา อ่อนกำปัง รายงาน


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่