หน้าแรก Article เปิดประสบการณ์ “เอสโตเนีย” ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป และความหวังเปลี่ยนผ่านไทยสู่ประเทศดิจิทัล ด้วย “คนดิจิทัล”

เปิดประสบการณ์ “เอสโตเนีย” ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป และความหวังเปลี่ยนผ่านไทยสู่ประเทศดิจิทัล ด้วย “คนดิจิทัล”

0
เปิดประสบการณ์ “เอสโตเนีย” ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป และความหวังเปลี่ยนผ่านไทยสู่ประเทศดิจิทัล ด้วย “คนดิจิทัล”
Sharing

ถ้าพูดถึงการพัฒนาประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยี หลายคนคงส่ายหัว พร้อมกลับย้อนด้วยประโยคว่า ขนาดนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ยังเป็นได้แค่ 0.4!

แต่อย่าเพิ่งปิดประตูแห่งความหวังเร็วเกินไป เพราะหากมองรอบด้านแล้วพิจารณาบริบทโลกจะพบว่า มีบางประเทศที่สถานการณ์ย่ำแย่กว่าไทย จากประเทศที่บอบช้ำในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ท้ายที่สุดสามารถสร้างชาติใหม่ ด้วยสังคม “ดิจิทัล” …นั่นคือ ประเทศ “เอสโตเนีย” ต้นกำเนิด “Skype” นั่นเอง

ใช่แล้ว! “เอสโตเนีย” ประเทศขนาดเล็กที่ในอดีต น้อยคนนักจะบอกตำแหน่งที่ตั้งบนแผนที่โลกได้ ประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ ประชาชนมีฐานะยากจน โทรศัพท์ไม่มีใช้ และไร้ซึ่งทรัพยากรหรือความสามารถในการแข่งขันดังเช่นประเทศอื่น และภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ชาวเอสโตเนีย ได้รับเงินคนละประมาณ 10 ยูโร เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

ในปี 1996 โทมัส เฮ็นดริก อิลเวส (Toomas Hendrik Ilves) อดีตประธานาธิบดีเอสโตเนีย ปูทางสู่สังคมดิจิตอลด้วยโครงการ Tiger’s Leap ที่มุ่งลงทุนในการพัฒนา และขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศสำหรับภาคการศึกษา และภายในปี 2000 เอสโตเนีย กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ประกาศให้การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชน

ปี 1997 เอสโตเนีย เริ่มโปรเจกต์ e-Governance ผ่านเว็บไซต์ e-Estonia (http://e-estonia.com/) ที่เปิดให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งสามารถทำธุรกรรมตามเวลาที่สะดวกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น ภาษีออนไลน์ การจดทะเบียนการค้า การเซ็นรับรองเอกสาร การเปิดบัญชีธนาคาร ประกันสุขภาพ การนัดพบหมอ รวมถึงการเลือกตั้ง

ปี 2002 ชาวเอสโตเนียเริ่มถือบัตรดิจิทัลไอดี หรือบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ โดยบัตรนี้สามารถเข้ารับบริการต่าง ๆ บนเว็บไซต์ e-Estonia อย่างการซื้อรถยนต์จากห้องนั่งเล่น หรือลงทะเบียนชื่อลูกที่เพิ่งคลอด ในขณะที่อุณหภูมิภายนอกติดลบ 40 องศา นอกจากนี้ยังจัดการเรื่องความปลอดภัยกรณีข้อมูลส่วนตัวให้มีประสิทธิภาพ แม้จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ในเดือนเมษายนปี 2007

เอสโตเนีย เริ่มโครงการ e-Residency ในปี 2014 เพื่อเปิดเประเทศแบบไร้พรมแดน ต้อนรับชาวต่างชาติที่สนใจสมัครเข้ามาเป็นประชากรออนไลน์ เพื่อได้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับชาวเอสโตเนีย โดยผู้ได้สิทธินี้จะได้รับบัตร “ดิจิทัลไอดี” สำหรับเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ เช่นการจดทะเบียนกับธนาคารเพื่อเริ่มทำธุรกิจ บริการนี้จึงเปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดผู้ประกอบการและนักธูรกิจต่างชาติให้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น…และนี่คือจุดแข็งของเอสโตเนีย

 

 

ภายในไม่กี่ทศวรรษ เอสโตเนียได้กลายเป็นแหล่งรวมของโปรแกรมเมอร์มากฝีมือและบริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก จนก่อกำเนิดโปรแกรม “Skype” ในเดือนสิงหาคม ปี 2003 ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานการันตีความสามารถของพวกเขา จนแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง eBay ซื้อ Skype ไปในราคา 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2005 และ Microsoft ซื้อ Skype ไปในราคา 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 การซื้อขายครั้งนี้ทำให้มีเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น เพราะร้อยละ 44 ของพนักงงาน Skype ยังทำงานอยู่ในเอสโตเนีย

และหลายคนได้รังสรรค์บริษัทสตาร์ทอัพใหม่ ๆ ในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพในยุโรป ด้วยคำว่า “ผู้คนคิดว่าถ้าชาวเอสโตเนียสามารถสร้างผลงานอย่าง Skype ได้ ฉันเองก็ทำได้เหมือนกัน”

 

 

บทเรียนจาก เอสโตเนีย คือ วิสัยทัศน์ของผู้นำ และความพร้อมใจจากทุกฝ่าย รวมถึงความกล้าเปลี่ยนแปลง  ทำให้ประเทศที่ไม่มีไรเลย กลายเป็น “ซิลิคอนแวลลีย์แห่งยุโรป”

ย้อนมาดูที่บ้านเรา หากจะมองหาพรรคการเมืองไหน หรือบุคคลผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จริง ๆ จัง ๆ ก็พอมีอยู่บ้าง…

ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคนนั้นคือ อดีตรองประธาน กสทช. “พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ” ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคม และที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

กับบทบาทล่าสุด ที่ชายคนนี้ประกาศแนวคิด “ใช้ดิจิทัล นำไทยก้าวให้ทันโลก” เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบัน โลกก้าวเข้าสู่ยุคตดิจิทัลแล้ว การนำประเทศไทยก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สร้างงาน รูปแบบใหม่ ๆ มีโอกาสสร้างเงิน สร้างรายได้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่ตัวเอง

 

 

“ถึงเวลาที่เราจะต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงการทำงานของรัฐ ทุกแพลตฟอร์ม ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อการให้บริการประชาชน อย่างรวดเร็ว เราจะเปิดโอกาสการทำธุรกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิทัลให้เป็นธุรกิจ เป็นการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมายให้มากที่สุด”

และนี่คือภารกิจของ “พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ” พร้อมคณะ ที่จะพลิกประเทศที่เคยมีโอกาสอยู่แล้ว ให้กลับมา “เต็มไปด้วยโอกาส” ยิ่งกว่าเดิม เพราะนี่คือประเทศไทยในยุคดิจิทัล ที่แท้จริง

 

ทีมข่าว ริงไซด์การเมือง รายงาน

 

ขอขอบคุณข้อมูล “เอสโตเนีย สร้างชาติใหม่ ไร้พรมแดน” จาก นิตยสาร “คิด Creative Thailand” โดย CEA ประจำเดือนตุลาคม 2561 ปีที่ 10 ฉบับที่ 1


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่