มีอายุร่วมทศวรรษ สำหรับพรรคการเมืองขนาดกลาง แต่อยากใหญ่ อย่างภูมิใจไทย ที่เคยผ่านร้อนหนาวทางการเมืองมาในทุกรูปแบบจากการเป็นรัฐบาล ดูแลหลายกระทรวง ไปจนถึงมีความเสี่ยงถูกยุบพรรค
ประสบการณ์เป็นรัฐบาล 2 ปีเศษ ฝ่ายค้านอีก 3 ปี และเว้นวรรคการเมืองอีก 4 ปีนิดๆ เท่ากับทุกรสชาดได้ผ่านริมฝีปากของพรรคภูมิใจไทยมาแล้ว ทั้งหวาน ทั้งขม ทั้งหวานอมขมกลืน
มาบัดนี้ ภูมิใจไทย เรียนรู้จากประสบการณ์ เข้าใจเกมอำนาจ เข้าใจที่ทางของพรรค การหยั่งรู้ดังกล่าว เด่นชัดในสมัยของนายอนุทิน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยใน ปี 2555 แม้จะเป็นนักธุรกิจ แต่ก็ติดตามการเมืองไทยมาอย่างลึกซึ้ง นำมาซึ่งการกำหนดยุทธศาสตร์ของพรรค เพื่อให้พรรค มีความเข้มแข็งบนความนิยมของประชาชน
พรรคภูมิใจไทย ต้องยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยมีองค์พระมหากษัตริย์ เป็นประมุข นำมาซึ่งการลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2557 ในความเสี่ยงเรื่องลงทุนฟรี เพราะมีโอกาสสูงว่าการเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ
การตัดสินใจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้พรรคภูมิใจไทย มีภาพสะท้อนของพรรคที่มุ่งเน้นการทำงานในกรอบกฎหมาย มุ่งพาชาติกลับเข้าสู่สภา
หลังการยึดอำนาจ พรรคภูมิใจไทย วางตัวอย่างตรงกลาง บาลานซ์ตัวเอง มิให้ถูกจูงไปข้างใครโดยง่าย
หากถูกจับวางจนสร้างความเสื่อมเสีย ทางพรรคเตรียมจะฟ้องกลับทันที เช่นกัน หากมีการใส่ร้ายพรรค ผลลัพท์ก็ไม่ต่าง
“นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์” แห่งกลุ่มสามมิตร รู้ซึ้งอยู่แก่ใจ เพราะสุดท้าย ต้องดอดมาขอโทษนายอนุทิน ด้วยตัวเอง หลังจากจ้องให้ข่าวทำร้ายพรรคภูมิใจไทย และเป็นคดีความก่อนหน้านี้
นายอนุทิน พูดอยู่เสมอว่า “จะไปทางซ้ายเขาก็ไม่เลือก จะไปทางขวา เขาก็ไม่เลือก ยืนอยู่ตรงนี้ดีกว่า อย่างน้อยก็ไม่ต้องขัดแย้งกับใคร คนเลือกเรา เพราะเรายืนอยู่ตรงนี้”
เป็นคำพูด ซึ่งปรากฎแก่สื่อมาตั้งแต่ช่วงต้นปี
หลังจากนั้น นายอนุทิน นำเสนอตัวเองด้วยแนวคิดการพัฒนาประเทศ
พักหนี้ กยศ.- ปลดภาระผู้ค้ำ
การขยายความเจริญออกนอกเมืองหลวง ด้วยการสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล
สนับสนุนให้ใช้สินค้า Made in Thailand
ต่อยอดกฎหมาย EEC สู่พื้นที่อื่น
เชียร์การสร้างโรงไฟฟ้าน้ำมันปาล์ม
และ แก้กฎหมายเปิดทางธุรกิจแบ่งปันเติบโต
ในขณะที่สื่อต่างเขียนข่าวความขัดแย้งทางการเมือง แต่มักจะปรากฎว่าพรรคหนึ่ง นำเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน
ชื่อของพรรคนั้นคือ “ภูมิใจไทย”
และในขณะที่ทุกพรรคต่างสกัดคนไหลออก แต่มีอยู่หนึ่งพรรคที่อ้าแขนต้อนรับผู้มาใหม่ ทั้งประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจ นักการเมือง ไม่ขาดสาย
พรรคนั้นคือ “ภูมิใจไทย”
ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้า เคยกล่าวไว้ว่า “การเมืองมีความหลากหลาย ไม่ใช่ว่าประชาชนทุกคนจะขวา จะซ้ายหมด มันยังมีคนที่อยู่ตรงกลาง
ตรงนั้นคือเป้าหมายของพรรคภูมิใจไทย ถ้าลองพรรคภูมิใจไทยย้ายไปซ้าย เขาก็เลือกเพื่อไทย ถ้าย้ายไปขวาเขาก็เลือกพลังประชารัฐ
ภูมิใจไทยถ้าอยากมีพื้นที่ ต้องยืนอยู่ตรงกลาง”
ขณะที่ รศ.สุขุม นวลสกุล นักวิชการด้านรัฐศาสตร์ อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง กล่าวว่า
“นักการเมือง คนบางคน อยากแสดงฝีไม้ลายมือ ให้คนจำได้ ไม่ใช่เรื่องผิดนะคุณ และพรรคภูมิใจไทย น่าจะให้โอกาสได้ เพราะพรรคนี้ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับใคร วางตัวดีมาโดยตลอด ฝ่ายไหนจะตั้งรัฐบาลก็ต้องเอาภูมิใจไทยไปเสริมแก่รง
ส่วนข้อครหาเรื่องอุดมการณ์ แน่นอนพรรคขนาดกลางย่อมไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอยู่แล้ว หน้าที่ของพรรคภูมิใจไทยคือโชว์นโยบายและทำนโยบาย ถ้าจะถามว่าพรรค มีบทบาทอย่างไรกับประชาธิปไตย คำตอบคือเป็นฝ่ายประคองระบอบสภาให้มันพอไปได้ ตรงนี้ มีความสำคัญ”
ชัดเจนแล้วว่า
สำหรับพรรคภูมิใจไทยแล้ว การอยู่ตรงกลาง คือทางเลือกที่ดีที่สุด