หน้าแรก news “ภูมิใจไทย” จัดเสวนา แก้ปัญหาประมง ได้ข้อสรุป ต้องลดความวุ่นวายด้านเอกสาร ปล่อยประชาชน ทำมาหากิน

“ภูมิใจไทย” จัดเสวนา แก้ปัญหาประมง ได้ข้อสรุป ต้องลดความวุ่นวายด้านเอกสาร ปล่อยประชาชน ทำมาหากิน

0
“ภูมิใจไทย” จัดเสวนา แก้ปัญหาประมง ได้ข้อสรุป ต้องลดความวุ่นวายด้านเอกสาร ปล่อยประชาชน ทำมาหากิน
Sharing

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ที่พรรคภูมิใจไทย มีการจัดงานเสวนาวิชาการ “ฝ่าคลื่นทะเลไทย ทางรอดชาวประมง”

ในงาน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การประมงประเทศไทยสำคัญมาก เพราะประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดทะเลถึง 22 จังหวัด ถ้าการทำประมงมีประสิทธิภาพ ผลผลิตดี เกิดความต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้ชีวิตของพี่น้องประชาชนอยู่ดีกินดี ซึ่งตรงกับนโยบายของพรรคภูมิใจไทย ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชน

นายกฤษณ์พสุ เจริญ กรรมการสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี และ กรรมการหอการค้าปัตตานี กล่าวว่าทำอาชีพประมงมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เป็นรุ่นที่ 3 ณ ตอนนี้ EU และ IUU ให้ใบเหลืองประมงกับประเทศไทย สิ่งที่ Eu ติพวกเราคือ 1.แรงงาน ผิดกฎหมาย 2.ขาดการรายงาน (แสดงเอกสารยืนยันเรือ) 3.เมื่อออกจากฝั่งขาดการติดต่อ 4.การตรวจสอบ ตลอดเวลา 4 ปี รัฐบาลพยายามร่างกฎหมายที่มีมากกว่า 300 ฉบับเพื่อมาแก้ไข ซึ่งมันเกินกว่าที่ EU กำหนดมา ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับที่เป็นอุปสรรคต่อการออกไปประมงของเรามาก

“ทุกวันนี้อาชีพประมงที่ทำผิดกฎหมาย ไม่ได้ผิดด้วยข้อหาที่เกี่ยวกับทรัพยากร กุ้งหอยปูปลา แต่ผิดกับเอกสาร  เช่น น้ำหนักที่ไม่ตรงกับเอกสารที่กรอกไว้ หรือ การไม่ได้เซ็นชั่วโมงพักเที่ยงให้กับลูกจ้างชาวประมง  IUU กำหนดมาว่า ให้มีความผิดกับชาวประมงที่ทำผิดทรัพยากร แต่ ภาครัฐกับร่างกฎหมายให้มีความผิดกับชาวประมงที่ทำหรือกรอกเอกสารผิด แล้วชาวประมงส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายทั้งนั้น บางคนจบแค่ ป.4 พอเขียนได้อ่านออก ต้องการให้รัฐบาลลงมาพูดคุยกับชาวประมงในปัญหาที่เกิดขึ้น”

นายสามารถ นิยมเดชา ที่ปรึกษาสมาคมชาวประมงแห่งประเทศไทย และ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประมง จังหวัดปัตตานี ให้ข้อคิดเห็นว่า หลายๆครั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ มากกว่าการใช้เอกสารประกอบการตัดสินใจ บางครั้งเราผ่าน ศูนย์ PIPO (ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออก) ของปัตตานี แต่ไม่ผ่านการตรวจของศูนย์ปีโป้สงขลา แล้วอีกอย่าง ในการตรวจสอบของเรือของศูนย์ PIPO มันไม่ One Stop Service เราตรวจผ่านมาตรฐานศูนย์ PIPO แล้ว แต่เรือกำลังออกทะเลไปถึงปากแม่น้ำปัตตานีแล้ว วันดีคืนดี เจอตำรวจน้ำ กรมศุลกากร ทหารเรือ ตรวจซ้ำ เต็มไปหมด ในเมื่อเราตรวจผ่านมาตรฐาน ที่ศูนย์ PIPO แล้ว เมื่อเราถือใบอนุญาตแล้ว ทำไมต้องตรวจซ้ำ

“พวกเราชาวประมงต้องการช่วยประเทศไทยให้พ้นใบเหลืองจาก EU แต่รัฐก็ต้องช่วยเราด้วยเหมือนกัน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นทิ้งไป ต่างคนต่างช่วยกัน ทำไมเราจะทำไม่ได้”

ขณะที่ นายสุรินทร์ นิธิวัฒนาประสิทธิ์ ประธานสหกรณ์ประมงพญาตานี และ ที่ปรึกษาสมาคมประมงแห่งประเทศไทย กล่าวถึง เครื่องติดตาม VMS  ระบบติดตามเรือประมง ที่ติดสัญญาณกับเรือ ยิงสัญญาณขึ้นไปทางดาวเทียม และจะบ่งบอกว่าเรือของเราอยู่จุดไหน  บางทีสัญญาณมันขาดหายไป ศูนย์ PIPO จะโทรตามหาเจ้าของเรือ ให้โทรตามเรือประมงกลับมาที่ฝั่ง ซึ่งในการเรียกเรือกลับมาแต่ละครั้ง ชาวประมงต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง พวกเราชาวประมงอยากให้มีการบรรเทาค่าใช้จ่ายในจุดนี้ ปัญหาของเราคือ ประเทศไทยไม่ได้มีสัญญาณ Vms ทุกตารางนิ้ว ขนาดโทรศัพท์มือถืออยู่บนฝั่งยังมีจุดอับเลย แล้วนี้บนเรือไหนจะมรสุม

“ชาวประมงต้อง VMS ติดต่อเข้ามาทุก 1 ชั่วโมง หากขาดหายไปหรือไม่ติดต่อเกิน 4 ชั่วโมง ทาง ศูนย์ PIPO สามารถยึดเรือได้ VMS ประเทศไทยมีอายุการใช้งาน 3 ปี แล้วต้องเปลี่ยน Version ทุก 3 ปี  Version แรก ก็ 40,000 กว่าบาท Version 2 ราคาเท่าตัวของ Version แรก 67,500 บาท ซึ่งเราไม่เข้าใจว่า ทำไมอายุการใช้งานมันสั้น เมื่อเทียบกับระบบสัญญาณอื่นๆ ต่างประเทศใช้ ระบบ VMS เพื่อช่วยเหลือชาวประมงจากภัยพิบัติ แต่ประเทศไทยมีไว้เพื่อจับกุม ชาวประมงกันเอง”นายสุรินทร์

นายอุดมศักดิ์ คุรุปรีชารักษ์ กรรมการสมาคมจังหวัดปัตตานี และ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี ระบุ ประเทศไทย แรงงานไทย ไปทำงานต่างประเทศ แรงงานต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด แรงงานต่างชาติ มาทำงานบ้านเรา นายจ้างออกค่าเอกสารดูแลทั้งหมด ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง กัมพูชา 30,000 บาท พม่า 20,000 บาท ทำไมเราไปดูแลแรงงานต่างชาติ ไม่ดูแลนายจ้างชาวไทยบ้าง มัน 2 มาตรฐาน เราควรดูแลคนของเราให้ดีก่อน ค่อยไปดูแลคนอื่น กฎหมายประเทศไทย ประมง นายจ้างต้องออกค่ากิน ค่าอยู่ ค่าแรง ธุรกิจอื่นๆ นายจ้าง จ่ายแต่ค่าแรง ทำไมเราไม่ทำให้เหมือนกัน เราอยากให้ภาครัฐพึ่งพาแรงงานต่างชาติ ให้น้อยที่สุด และใช้แรงงานไทยที่มีฝีมือแทน

ด้านนางอัญชลี สังข์สัมฤทธิ์ นายกสมาคมเรือลอบหมึกสาย จังหวัดเพชรบุรี  ให้ความเห็นว่า ปัญหาเชื้อชาติ ลูกจ้างหลายคนโดนล่ามในศูนย์ PIPO ชี้นำในสิ่งที่ไม่ดี มันทำให้เกิดการคัดค้าน ไม่ทำตามคำสั่ง ในการเสียค่าปรับของประมง เราเสียค่าปรับตามขนาดเรือ ไม่ได้ใช่เรื่องหรือคดีที่กระทำ ในกรณีที่มีการเซ็นต์เอกสารการพักเที่ยง ที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างประมงเซ็นต์ชื่อ วันนึงถึง 4 ครั้ง 08.00 น. 12.00น. 13.00 น. เลิกงาน  บรรดาโรงงาน เซ็นชื่อแค่ เช้า – เย็น ทั้งนี้ประเทศเวียดนามยังต่อรองว่ายังไม่พร้อม ขอเวลา  8 ปี แต่ทำไมเราไม่คิดถึงประเทศชาติของเรา

นางสุภาวดี โชคสกุลนิมิตร ที่ปรึกษาสมาคมประมงแห่งประเทศไทย  กล่าวเรียกร้องให้คนมีอำนาจมาดูแล ทบทวน เราไม่ได้ของบประมาณแม้แต่แดงเดียว แต่อยากให้เข้าใจปัญหา คนไม่งานงานทำ คนตกงานจำนวนมาก ประเทศเราทุกวันนี้มันเกิดอะไรขึ้น คนไม่มีงานทำ คนตกงาน ผู้ประกอบการเองจะตายกันหมดแล้ว แล้วเม็ดเงินจะมาจากที่ไหน แต่วันนี้กลับลำทัน แก้ปัญหาให้กับประมงเล็กๆ ให้เขาหายใจได้ คุณมาปรับรุนแรงมาก เหมือนคนค้ายา มันรุนแรงมากไป ถ้าปรับตรงนี้เม็ดเงินในระบบจะเข้ามาทันที

“ทุกวันนี้เราอยู่แบบประคองตัวไป แข่งขันกับต่างประเทศแม้แต่เวียดนามเองยังแข่งขันไม่ได้เลย โดนเขาแย่งซีนไปหมดแล้ว แล้วถ้าเกิดไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้ประมงลืมตาอ้าปากได้ แล้ววันนั้นอุตสาหกรรมประมงก็จะไม่เหลือ ถามว่าประเทศเราจะอยู่ได้ไหม ประมงคือต้นน้ำ ถ้าน้ำไม่ใหลจะอยู่ได้ไหม ปิดต้นน้ำ แล้วกลางน้ำก็รอน้ำไป ปลายน้ำก็ตายไป แล้วประเทศชาติจะเหลืออะไร เรือประมงคือเม็ดเงิน แรงงานต่างด้าวคือลมหายใจ ถามว่าเม็ดเงินกับลมหายใจเราขาดไม่ไหม เราขาดไม่ได้ แต่ไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมไม่ให้ความสำคัญตรงนี้”

วรศิษฎ์ เสียงประสิทธิ์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ให้ข้อคิดเห็นว่า วันนี้เราเดินทางมาถึงการตรวจชาวประมงมากกว่าคนเดินทางขึ้นเครื่องบิน เราเดินทางมาถึงรัฐบาล ภาครัฐดูแลแรงงานต่างชาติ มากกว่าคนไทยด้วยกันเอง ผมคิดว่านี้คือเสียงที่พี่น้องชาวประมงอยากจะถามถึงผู้มีอำนาจ ภาครัฐ ยังอยากให้มีอาชีพประมงในประเทศไทยอยู่หรือเปล่า

นายสุรเดช นิลอุบล นายกสมาคมประมงจังหวัดสงขลา กล่าวเสนอต่อที่สัมมนาว่า สินค้าประมงในประเทศไทยเรามีการตรวจสุขลักษณะของการประมง 100 % แต่สินค้าจากต่างประเทศบางประเทศ ไม่มีมาตรฐานตรงนี้ เรามีการนำเข้าสินค้าประมงเช่นปูที่ขายมาจากบังคลาเทศ รู้สึกปวดร้าวเมื่อให้เหตุผลว่าเขตการค้าเสรี  ก็รู้สึกเจ็บปวด

สิ่งที่อยากเสนอให้มีการแก้ไข 1.การกำหนดจำนวนวันในการทำการประมงที่นำจำนวนเรือประมงมาคำนวนกับพื้นที่ นั้น เรามีเรือประมงพาณิชย์ 10,000 ลำ แต่ไม่ได้ทำประมงพร้อมกันทั้งหมด ทำได้ประมาณครึ่งหนึ่ง และไม่ได้ออกเรือพร้อมกัน การกำหนดให้ทำประมงแค่ 240 วัน แต่ต้องจ่ายค่าจ้างทั้งปี เพราะกฎหมายกระทรวงแรงงาน กำหนดให้ทำสัญญาจ้างทั้งปี เราไม่ใช่องค์กรการกุศล เราต้องการให้ทำทั้งปี แต่ไม่ใช่ 360 วัน เพราะมีวันหยุดต่างๆ และการซ่อมแซมเรือ ในช่วงฤดูมรสุม

2.การแก้ไขกฎหมาย พรบ.การประมง ต้องมีการการบูรณาการออกกฎหมายที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงาน ให้สอดรับกับบริบทการทำประมง และ ให้ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพของคนในประเทศ แรงงานในประเทศ ทุกวันนี้ประเทศไทยเราไม่มีวัณโรค โรคเท้าช้าง แต่แรงงานต่างชาติที่เรารับเข้ามาทำงานบางประเทศยังเป็นโรคนี้กันอยู่ 3. ระบบติดตามเรือ  VMS สนับสนุนให้ราคาให้ถูกลง ให้รัฐช่วยอุดหนุน หรือ สามารถปิดระบบสัญญาณ VMS ได้ในช่วงที่ไม่สามารถทำประมง เช่น ในช่วง 4 เดือน ไหนๆเราออกเรือไม่ได้ แม้ว่าตัวเราจะไปต่างจังหวัด ก็ยังต้องส่งสัญญาณให้ PIPO ซึ่งจะขอหยุดได้ไหม เพราะจะลดต้นทุนไปเดือนละ 1,400 บาท โดยให้นำใบทะเบียนพาณิชย์ออกเรือไปฝากไว้ นำสีมาทาเรือ หรือ ล๊อคพังงาเรือเอาไว้ก็ได้

นายศักดิ์สยาม กล่าวสรุปการเสวนาฯ ในวันนี้ว่า ฟังการเสวนาในวันนี้แล้วอึดอัด ไม่อยากเชื่อว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเรื่องของการที่รัฐไปออกกฏระเบียบ ทำให้พี่น้องชาวประมง 22 จังหวัด มีอุปสรรค์ในการประกอบอาชีพ ต้องเอาเรื่องข้อจำกัดในระเบียบกฎหมายต่างๆมาแก้ไขกันมาดูว่าทำอย่างไรประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในประเทศไทยจะสามารถทำอาชีพประมง และสามารถที่จะมีรายได้ที่จะดูแลครอบครัวและเสียภาษีเป็นประโยชน์ให้กับรัฐ ฟังแล้วเหมือนกับพี่น้องชาวประมงนี่ไม่ใช่คนไทย เหมือนกับกฎหมายมาเพื่อเหมือนกับเป็นนิคมอะไรสักอย่าง ที่เอาพี่น้องประมงมาอยู่ในนี้

“การเสวนาเรื่องประมงในวันนี้ หัวหน้าพรรค(นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ฝากมาว่าต้องฟังเรื่องนี้ให้ดี ต้องมีสมาธิและสติในการฟังเรื่องนี้ ฟังแล้วสรุปได้ว่า 1.ระเบียบกฎหมายที่รัฐออกมาขณะนี้มีปัญหาแน่นอน เพราะว่าออกกฎหมายจำนวนมาก ออกกฎหมายในลักษณะที่ไม่แบ่งให้ชัดเจนว่าธุรกิจประมงใช้กฎหมายระเบียบวิธีการทำงานไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้พรรคคงจะต้องไประดมสมองทำการบ้านเกี่ยวกับกฎหมายที่มีอยู่ และคงจะต้องไปร่างการแก้ไข คิดว่าข้อมูลส่วนหนึ่งได้จากวิทยากรอยู่แล้ว ต่อมาคือเรื่องวิธีการปฏิบัติ มักจะได้ยินหลาย ๆคนพูด One Stop Service ทุกเรื่องมัน Stop แต่มันไม่ Service นะครับ วันนี้คิดว่าเรามีเทคโนโลยี เยอะแยะมากที่อยู่ในโลกนี้ และแม้แต่อยู่ในประเทศไทย พรรคภูมิใจไทย โชคดีที่เราได้ผู้มาทำงานในพรรคที่มีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผมเชื่อว่าจะเป็นทางออกในเรื่องของการนำเรือออก นำเรือเข้า จะทำให้ง่ายไม่ต้องไปกรอกเอกสาร เป็นกระดาษแบกกันที 5 กิโลกรัม วันนี้มันไปไกลมากขนาดเราทำธุรกิจเกี่ยวกับธนาคาร เดี๋ยวนี้เราก็ใช้ในโทรศัพท์มือถือเท่านั้นเอง”เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า สิ่งเหล่านี้มีโจทย์มีทางออกอยู่แล้ว วันนี้สิ่งที่เราเห็นก็คืออำนาจรัฐนั่นแหละ คือตัวที่เกิดให้มันมีปัญหา วันนี้หัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคทุกคนอยากที่จะทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องชาวประมงทั้ง 22 จังหวัด โดยมาช่วยกัน พรรคจะให้ทีมกฎหมายตรวจสอบข้อกฎหมายและจัดทำร่างกฎหมายระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค์ในการทำงาน และ ขอความเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนา ว่าจะมีความเห็นอย่างไร ถ้ามีความเห็นสอดคล้องว่าเป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวประมง ที่จะเดินออกจากนิคม เหมือนกับเป็นคนไทยปกติ ใช้มาตรฐานเดียวกับธุรกิจปกติอื่นๆ เราจะเดินไปด้วยกัน

” การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว อาจจะไม่ต้องไปรอถึงการเลือกตั้ง เชื่อว่าถ้าเราเห็นพ้องในเรื่องกฎระเบียบกฎหมาย เรามาร่วมมือกัน รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เปิดโอกาสให้เราเสนอร่างกฎหมายอยู่แล้ว เรามารวมกัน ร่วมมือกัน เราอาจจะมองเรื่องการประมง เป็นเรื่องคนที่อยู่ในทะเล แต่ว่าจริงๆแล้วไม่ใช่ มีความเกี่ยวเนื่องกระทบมาถึงพี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหมดเลย เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ พรรคภูมิใจไทย พร้อมเดินหน้าแก้ไขปัญหาปากท้องของพี่น้องประชาชนโดยการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน”


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่