ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ลงพื้นที่สำรวจและจัดทำ “มสธ. โพลล์”ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาในการเลือกตั้ง”รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการ มสธ. โพลล์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม (STOU POLL) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 29/2561 ระหว่างวันที่ 21-30 พฤศจิกายน 2561 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15,004 คน เป็นชาย 8,650 คน (54.53%) หญิง 7,212 คน (45.47%) เกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง ณ ปัจจุบัน
ต่อคำถามว่า พรรคการเมืองใดที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมในการเป็นพรรคแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล?
อันดับ1พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 30.61 อันดับ 2 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 29.35 อันดับ 3 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 27.12 อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.75 อันดับ 5 พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 3.02 อันดับ 6 พรรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พรรคดังกล่าวมาข้างต้น ร้อยละ 2.27 อันดับ 7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.89
ต่อคำถาม พรรคการเมืองใดที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมในการเป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้าน ?
อันดับ1 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 39.32 อันดับ2. พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 33.00 อันดับ3. พรรคเพื่อไทย อันดับ ร้อยละ 16.06 อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 4.14 อันดับ5. พรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 3.56 อันดับ6. พรรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พรรคดังกล่าวมาข้างต้น ร้อยละ 1.68 อันดับ7. ไม่แน่ใจร้อยละ 2.23
สุดท้าย การเลือกตั้ง สส. ครั้งหน้านี้ ท่านจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจาณาเลือก?
อันดับ 1 พิจาณาจากพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัดและคุณสมบัติของผู้สมัคร ร้อยละ 44.51 อันดับ 2 พิจาณาจากคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นหลัก ร้อยละ 29.23 อันดับ 3. พิจารณาจากพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัดเป็นหลัก ร้อยละ 25.71 อันดับ 4. ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.55