หน้าแรก Article “คนไทย ต้องตายน้อยลง” ! ภูมิใจไทย หนุน “เทเลเมด” ทางรอดสาธารณสุขไทย

“คนไทย ต้องตายน้อยลง” ! ภูมิใจไทย หนุน “เทเลเมด” ทางรอดสาธารณสุขไทย

0
“คนไทย ต้องตายน้อยลง” ! ภูมิใจไทย หนุน “เทเลเมด” ทางรอดสาธารณสุขไทย
Sharing

ตายก่อนถึงโรงพยาบาลเป็นคำที่เราได้ยินจนชินหู สะท้อนภาพระบบสาธารณสุขไทย ที่ไม่สะดวก สบาย เหมือนที่ใจคิด เพราะความเป็นจริงคือประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์ และบุคคลากรในสาขาที่เกี่ยวข้อง

ขณะเดียวกันแพทย์จำนวนมาก ยังกระจุกตัวตามโรงพยาบาลในเมือง ปล่อยให้พื้นที่ห่างไกล ต้องไร้แพทย์รับผิดชอบ เหล่านี้เป็นเหตุให้ประเทศไทย ต้องเผชิญกับปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาล ซึ่งเป็นวิกฤติเรื้อรังมากว่า 5 ทศวรรษ

สำหรับในประเทศที่เจริญแล้ว มีวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการนำเทคโนโลยีมาเสริมการให้บริการ หรือที่เรียกว่า TELEMEDICINE (เทเลเมด) ทางวิชาการไทย จะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า โทรเวชกรรม หรือ แพทย์ทางไกล

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการติดต่อและโต้ตอบกันระหว่างคนไข้และผู้ให้บริการทางการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การที่แพทย์รักษาคนไข้จากทางไกลผ่านทางแอพพลิเคชั่นวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ก็ถือเป็น เทเลเมด อย่างหนึ่ง

ในสหรัฐฯ เทเลเมด กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด

The American Telemedicine Association รายงานว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ มีเครือข่ายเทเลเมด เพิ่มมากขึ้นราว 200%

เช่นเดียวกับเว็บไซต์ eVisit (ในหนึ่งผู้ให้บริการด้าน เทเลเมด ในสหรัฐฯ) รายงานว่า โรงพยาบาลในสหรัฐฯ จำนวนหนึ่ง ได้เพิ่มทางเลือกในการรักษาผ่านทาง เทเลเมด แก่คนไข้ของตัวเอง

ขณะที่ เว็บไซต์ Fierce Healthcare ได้รายงานผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง พบว่า เทเลเมด ได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อเทียบกับการไปพบแพทย์แบบตัวต่อตัว

การเกิดขึ้นของ เทเลเมด ช่วยเพิ่มโอกาสสำหรับผู้ห่างไกล ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล พร้อมไปกับลดค่าใช้จ่าย จากการเดินทาง บางครั้ง ยังรวมไปถึงการหาที่พรรคในตัวเมือง

ในประเทศไทย โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ เกือบทั้งหมด เปิดให้บริการ เทเลเมด แก่ผู้สนใจ แต่ในโรงพยาบาลรัฐ ยังเป็นเพียงไอเดียนำร่อง

กระทั่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นำเรื่องนี้ขึ้นมาพูดอีกครั้งหนึ่ง จึงกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อบวกลบถึงความเป็นไปได้ในการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ว่ากันว่าโอกาสสำเร็จสูงลิ่ว

เพราะประเทศไทย ได้ชื่อว่ามีเทคโนโลยีด้านการสื่อสารดีที่สุดในภูมิภาค ทั้งในเรื่องของความทันสมัย และการเข้าถึง ขณะเดียวกัน ยังมีบุคคลากร ที่มีความรู้เรื่องสาธารณสุขพื้นฐานกว่า 1 ล้านคน ภายใต้ชื่อของ อสม.

หากประเทศไทยบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน พัฒนาขีดความสามารถของ อสม.ในเรื่องของการสื่อสาร และเทคโนโลยี จนสามารถเป็นหัวใจของ เทเลเมด ได้สำเร็จ

ในอนาคต ภาพที่ปรากฎคือ คนไข้ไม่จำเป็นต้องนั่งรถหลายสิบกิโลเมตร เพื่อเข้าโรงพยาบาลในตัวเมือง แต่สามารถรับการรักษาจากที่บ้าน มี อสม. คอยช่วยเหลือ ขณะที่ปลายทางการสื่อสารคือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งรักษาผ่านระบบวีดีโอทางไกล

สำหรับพรรคภูมิใจไทย เทเลเมด คือ การปฏิรูปการบริการสาธารณสุข ที่มีความเป็นไปได้

ทำได้จริง และทำได้เลย

 

Ringsideการเมือง


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่