จากกรณีที่พรรคภูมิใจไทยชูนโยบายแบ่งปันกำไรข้าว หรือการออกกฎหมายตั้งกองทุนข้าว มีคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ประกอบไปด้วยชาวนา พ่อค้า และโรงสี แบ่งปันกำไรข้าวในสัดส่วน 75 15 10 เพื่อให้ชาวนาได้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิม 800 – 2,000 บาท/ต่อตัน
ล่าสุด ในโลกออนไลน์ตอบรับกับแนวคิดดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่มองว่าจะเป็นแนวทางช่วยเหลือชาวนาอย่างยั่งยืน แต่ยังมีบางส่วนที่กังขาในเรื่องของความเป็นไปได้ในแง่ของการปฏิบัติจริง
สำหรับแนวคิดการแบ่งปันกำไรข้าว เบื้องต้นจะมีการตั้งกองทุนข้าว ประกอบไปด้วยคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ ชาวนา พ่อค้า และโรงสี โดยฝ่ายชาวนาจะต้องมีจำนวนเสียงเกินครึ่ง หน้าที่ของคณะกรรมการคือกำหนดการผลิต เพื่อกำหนดราคาจำหน่าย ก่อนแบ่งปันกำไรร่วมกัน ซึ่งต้องแบ่งในสัดส่วน ชาวนาต้องได้ 75% ของกำไร พ่อค้าได้ 15% ของกำไร และโรงสีได้ 10% ของกำไร เมื่อตกลงร่วมกันได้แล้ว จะออกเป็นกฎหมาย เพื่อลงมือผลิต จัดจำหน่าย และแบ่งกำไรตามแผนที่วางไว้ต่อไป เป็นรูปแบบจัดสรรผลประโยชน์ด้านการเกษตร ซึ่งมีตัวอย่างมาจาก พ.ร.บ. อ้อย และน้ำตาล ซึ่งบังคับใช้มากว่า 30 ปี
โดยหากคิดจากราคาข้าวปี 2561 ข้าวขาวตันละ 7,900 จะได้ส่วนแบ่งเพิ่มอีก 800 เท่ากับราคาข้าวต่อตั้นที่ชาวนาจะได้รับ คือ 8,700 บาทต่อตัน ,ข้าวหอมมะลิ 18,000 จะได้ส่วนแบ่งเพิ่ม 1,500 เท่ากับราคาข้าวต่อตั้นที่ชาวนาจะได้รับ คือ 19,500 บาท
ทั้งนี้ล่าสุด พรรคภูมิใจไทยได้ร่างกฎหมาย และเปิดให้ประชาชนร่วมแสดงความเห็นได้ที่
https://bhumjaithai.com/post/2921/