หน้าแรก Article มองมุมใหม่ เมื่อ “กัญชา” ไม่ใช่สิ่งเสพติด แต่เป็นพืชเศรษฐกิจ

มองมุมใหม่ เมื่อ “กัญชา” ไม่ใช่สิ่งเสพติด แต่เป็นพืชเศรษฐกิจ

0
มองมุมใหม่ เมื่อ “กัญชา” ไม่ใช่สิ่งเสพติด แต่เป็นพืชเศรษฐกิจ
Sharing

สังคมต้องกลับมาทบทวนกันให้หนักอีกครั้ง หลังจากภูมิใจไทย ชูแก้กฎหมายยาเสพติด ให้กัญชากลายเป็นพืช ที่ประชาชนสามารถปลูกได้ ภายใต้กรอบกำหนด เป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตลาดกัญชา ที่มีทั้งกลุ่มที่ต้องการกัญชาไปเพื่อการสันทนาการ และเพื่อการแพทย์

กัญชามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canabis sativa L. subs indica เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกัน โดยสารสำคัญในกัญชาคือสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ซึ่งมีมากกว่า 100 ตัว อีกทั้งยังมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา เป็นสารสำคัญที่มีผลกระตุ้นระบบประสาท

ทั้งนี้ สาร THC มีผลทางประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้มในอาการเมา ทำให้เกิดความอยากอาหาร อีกตัวคือ สาร CBD ตัวนี้ ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดการอักเสบบวมโตของแผลหรือเนื้องอก ระงับเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโต ระงับการเกร็งหรือชักกระตุก และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาท

สรรพคุณของกัญชาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยตามที่มีรายงาน มีดังนี้

1. ลดอาการคลื่นไส้-อาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด

ภญ. ดร.สุภาพร ปิติพร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ประโยชน์ของกัญชามีฤทธิ์ต้านอาเจียน ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

ทั้งนี้ยังมีหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนอย่างชัดเจนว่า กัญชามีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแล้วคลื่นไส้-อาเจียน

2. ลดอาการปวด

ข้อมูลจากวารสารเภสัชศาสตร์อีสานระบุว่า สาร THC ในกัญชามีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ และยาต้านออกซิเดชั่น

3. รักษาโรคลมชัก

มีงานวิจัยที่ระบุว่า กัญชามีสรรพคุณรักษาโรคลมชักในเด็กที่รักษายาก หรือในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ

4. รักษาโรคปลอกประสาทเสื่อม

ในงานวิจัยมีการระบุสรรพคุณของกัญชาที่ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือโรคเอ็ม เอส นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ก็มีงานวิจัยที่ระบุว่า สารสกัดจากกัญชาอาจช่วยบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วยได้

5. ช่วยให้ผ่อนคลาย

ภญ. ดร.สุภาพร ปิติพร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในตำรับยามีการนำกัญชามาเป็นยาอยู่หลายตำรับ โดยเฉพาะยานอนหลับ ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบายขึ้น อีกทั้งกัญชายังมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และยังแก้ท้องเสียได้ด้วย

ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้กล่าวถึงการนำกัญชามาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ว่า เป็นเรื่องที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เนื่องจากมีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นยารักษาโรค มีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันถึงประโยชน์ของกัญชา

“หลายประเทศทั่วโลกผ่อนปรนกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อสันทนาการได้อย่างถูกต้อง แต่กัญชายังถือเป็นสิ่งเสพติดให้โทษประเภท 5 ในไทย ซึ่งผู้เสพต้องระวางโทษปรับ และ/หรือ จำคุก ส่วนรัฐบาลเพิ่งเริ่มหาทางแก้กฎหมายเปิดช่องให้ศึกษาวิจัยพืชเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม้ผู้ป่วยไทยบางส่วนลักลอบใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยไม่ต้องพึ่งพาเคมีบำบัดหรือฉายแสงเท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกายมาก”

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ แนะนำให้แก้ไขกฎหมายให้สามารถนำสารสกัดจากกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรคได้อย่างเต็มที่ สามารถครอบครองกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิจัยทางการแพทย์ รัฐบาลสามารถออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้สารสกัดจากกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด และควบคุมให้มีการใช้เฉพาะทางการแพทย์ และพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษเพื่อปลดล็อกให้มีการใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสุขภาพได้ ส่วนในระยะยาวควรออกกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับกัญชาโดยระบุให้เป็นพืชที่ใช้ทำเป็นยาและสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้

“ตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์ทั่วโลก อาจมีมูลค่าสูงถึง 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.9 ล้านล้านบาท) ภายในปี ค.ศ. 2025 ขณะนี้ มูลค่าผลิตภัณฑ์กัญชาทั่วโลกอยู่ที่ 4.6 ล้านล้านบาท กระแสการเคลื่อนไหวให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายว่า เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรช่วยกำหนดแนวทางที่เหมาะสมว่า อะไรคือประโยชน์สูงสุดต่อสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คน และเศรษฐกิจ”

ปัจจุบัน มีประเทศที่ยอมให้กัญชากลายเป็นพืชเศรษฐกิจ ได้แก่

1.กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา 2.อุรุกวัย 3.ยูเครน 4.สวิตเซอร์แลนด์ 5.สเปน 6.รัสเซีย 7.โปรตุเกส 8.เปรู 9.ปากีสถาน 10.รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา 11.เกาหลีเหนือ 12.เนเธอร์แลนด์  13.เนปาล 14.เม็กซิโก 15.จาไมก้า 16.อิตาลี 17.เอสโตเนีย 18.เอกวาดอร์ 19.สาธารณรัฐเช็ค  20.โครเอเชีย 21.คอสตาริกา 22.โคลอมเบีย 23.รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา 24.แคนาดา 25.กัมพูชา 26.รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา 27.เบลเยี่ยม 28.ออสเตรเลีย 29.อาร์เจนตินา 30.อลาสก้า

สำหรับไทย กัญชากำลังอยู่ในสถานะ “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ระหว่างสิ่งเสพติดตามความเชื่อเก่า หรือพืชเศรษฐกิจตามกระแสโลก อนาคตของกัญชาไทย ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของพรรคภูมิใจไทย

Ringsideการเมือง

ขอบคุณ

แนวหน้า

ไทยรัฐ

The Nation

Smart site Channel


Sharing

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่